• เทคโนโลยีการคำนวณ - ครูฐปนีย์ดา สัมฤทธิ์รินทร์
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

เรื่อง การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
          ตัวชี้วัด ม.3/3  ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน
          ตัวชี้วัด ม.3/4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบธรรม
2.สาระการเรียนรู้
          การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล เช่น ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล โดยเทียบเคียงจากข้อมูลหายแหล่ง แยกแยะข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น หรือใช้ PROMPT
3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
          ถ้าข้อมูลที่นำมาใช้ในการเรียนรู้และการทำงาน มีความถูกต้อง เหมาะสม และน่าเชื่อถือ จะทำให้เกิดการเรียนรู้และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาใช้ต้องผ่านกระบวนการประเมิน ความน่าเชื่อถือด้วยการตรวจสอบและยืนยันข้อมูล โดยอาจใช้หลักการ PROMPT ซึ่งได้แก่ การนำเสนอ ความสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ วิธีการ แหล่งที่มา และเวลา (Presentation, Relevance, Objectivity, Method,
Provenance, Timeliness: PROMPT)
 
4.จุดประสงค์การเรียนรู้    
  1. นักเรียนบอกวิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้ (K)
  2. นักเรียนประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลจากแหล่งต่างๆได้ (P)
  3. นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ (A)
5. คำถามสำคัญ  (Big Question)
          การนำข้อมูลมาใช้จะต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือได้ด้วยวิธีใด
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 และปรับปรุง 2560
          ใฝ่เรียนรู้
7. คุณค่าพระวรสาร ความซื่อตรง (regularity)
8. ทักษะการคิด
  1. การคิดวิเคราะห์
  2. การคิดสังเคราะห์
9. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  1. ความสามารถในการคิด
  2. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
 
10. ภาระงาน/ชิ้นงาน/ร่องรอย/หลักฐานการเรียนรู้
  1. แบบฝึกหัดท้ายบท/ใบกิจกรรม
  2. สังเกตพฤติกรรมมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
11. การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
ชั่วโมงที่ 1
1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

ครูตั้งคำถามกับนักเรียนว่า
- ข้อมูลที่นำมาจากอินเทอร์เน็ตเพื่อทำรายงานหรือสร้างชิ้นงานในรายวิชาต่างๆ เชื่อถือได้หรือไม่
- เราทราบได้อย่างไรว่าข้อมูลที่นำมาทำรายงานน่าเชื่อถือ

2)  ขั้นสอน โดยใช้กระบวนการสร้างเจตคติ
  1. สังเกต
ครูให้นักเรียนศึกษาหัวข้อ 6.1 การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
  1. วิเคราะห์
1.ครูให้นักเรียนเลือกศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต และใช้หลักการ PROMPT ในการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล
2.นักเรียนทำกิจกรรมที่ 6.1
  1. สรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
3)  ขั้นสรุป
          ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
12. ระบุเทคนิคการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1 รายการ
  1. ใช้บรรยาย
  2. ใช้กรณีตัวอย่าง
13. สื่อและแหล่งเรียนรู้
  1. หนังสือเรียน
    2.สไลด์สื่อประกอบการสอน

วิดีโอเนื้อหา



 

เข้าดู : 4070 ครั้ง