• เทคโนโลยีการคำนวณ - ครูฐปนีย์ดา สัมฤทธิ์รินทร์
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

เรื่อง การประมวลผลสารสนเทศ

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
          ตัวชี้วัด ม.3/1 พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่างสร้างสรรค์
          ตัวชี้วัด ม.3/2 รวบรวมข้อมูล ประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย
2.สาระการเรียนรู้
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เช่น Scratch, python, java, c, AppInventor
การประมวลผลเป็นการกระทำกับข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน
3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
          การประมวลผลสารสนเทศเบื้องต้นด้วยภาษาไพทอน ทำได้โดยใช้โมดูล pandas ช่วยในการอ่านข้อมูลประมวลผลและทำข้อมูลให้เป็นภาพ สำหรับนำไปใช้งานตามจุดประสงค์ต่างๆ ได้
4.จุดประสงค์การเรียนรู้    
  1. นักเรียนอธิบายหลักการเขียนโปรแกรมประมวลผลสารสนเทศได้ (K)
  2. นักเรียนเขียนโปรแกรมประมวลผลสารสนเทศได้ (P)
  3. นักเรียนมุ่งมั่นในการทำงาน (A)
5. คำถามสำคัญ  (Big Question)
          การประมวลผลสารสนเทศที่ดี ควรคำนึงถึงอะไร
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 และปรับปรุง 2560
          มุ่งมั่นในการทำงาน
7. คุณค่าพระวรสาร การงาน (work)
8. ทักษะการคิด
  1. การคิดวิเคราะห์
  2. การคิดสังเคราะห์
  3. การคิดแก้ปัญหา
9. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  1. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
10. ภาระงาน/ชิ้นงาน/ร่องรอย/หลักฐานการเรียนรู้
  1. แบบฝึกหัดท้ายบท/ใบกิจกรรม
  2. สังเกตพฤติกรรมมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
11. การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
 
ชั่วโมงที่ 1-2
1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างข้อมูลในชีวิตประจำวันที่สนใจ เช่น ข้อมูลประวัตินักเรียน ข้อมูลคะแนนสอบ ข้อมูลสุขภาพ พร้อมบอกประโยชน์ในการนำข้อมูลไปใช้งาน และครูถามนักเรียนถึงข้อมูลที่สนใจว่าประกอบไปด้วยข้อมูลย่อยอะไรบ้าง
2)  ขั้นสอน โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ
          1.การสังเกต/รับรู้
                    ครูแนะนำให้นักเรียนรู้จักโมดูล Pandas ซึ่งเป็นโมดูลในภาษาไพทอนที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการประมวลผลข้อมูล แล้วร่วมกันทบทวนการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนเบื้องต้น ครูอธิบายข้อมูลที่เก็บใน Pandas ที่เป็น Series และ DataFrame
          2.การทำตามแบบ
                    1.ครูสอนนักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างที่ 2.1 การใช้ Series ในการเก็บคะแนนสอบวิชาวิทยาการคำนวณของนักเรียนชั้น ม.3/1 จำนวน 20 คน แล้วรันโปรแกรมเพื่อแสดงผลลัพธ์
                   2.ครูสอนนักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างที่ 2.2 การใช้ DataFrame แล้วรันโปรแกรมเพื่อแสดงผลลัพธ์
                   3.ครูสอนนักเรียนเขียนโปรแกรมในรูปแบบไฟล์ข้อมูลในรูปแบบซีเอสวี
          3.การทำโดยไม่มีแบบ
                   ครูให้นักเรียนเขียนโปรแกรมที่ระบุชื่อคอลัมน์หรือหัวตารางในการแสดงผล โดยใช้ฟังก์ชัน read_csv ( ) 
          4.การฝึกให้เกิดทักษะ
                   ครูให้นักเรียนเขียนโปรแกรมแสดงข้อมูลใน DataFrame ออกทางจอภาพ โดยใช้ฟังก์ชัน print( ) แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ
 
3)  ขั้นสรุป
          ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป การใช้งานโมดูล pandas
 
 
ชั่วโมงที่ 3-4
1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
  •  
2)  ขั้นสอน โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ
          1.การสังเกต/รับรู้
                     ครูอธิบายข้อมูลใน DataFrame ที่รับมาจากไฟล์ CSV นั้น สามารถนำไปประมวลผลตามความต้องการได้ เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด เป็นต้น
          2.การทำตามแบบ
                    ครูสอนการเขียนโปรแกรมการนับจำนวนข้อมูล การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าเฉลี่ยแยกตามกลุ่ม
          3.การทำโดยไม่มีแบบ
                   ครูให้นักเรียนเขียนโปรแกรมการทำข้อมูลให้เป็นภาพ ด้วยการนำเสนอด้วยฮิสโทแกรม
          4.การฝึกให้เกิดทักษะ
                   ครูให้นักเรียนเขียนโปรแกรมการนำเสนอผลคะแนนด้วยแผนภาพการกระจาย
3)  ขั้นสรุป
          ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุป การรวมข้อมูล การทำข้อมูลให้เป็นภาพ และการนำ Pandas ไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ
         
12. ระบุเทคนิคการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1 รายการ
  1. ใช้บรรยาย
  2. ใช้กรณีตัวอย่าง
  3. ใช้การปฏิบัติ
13. สื่อและแหล่งเรียนรู้
  1. หนังสือเรียน
  2. สไลด์สื่อประกอบการสอน
PPTที่ 2 การประมวลผลสารสนเทศด้วยภาษาไพทอน



วิดีโอที่ 1

วิดีโอที่ 2

โหลดแบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2 สร้างสรรค์ผลงานด้วยภาษาไพทอน

 

เข้าดู : 907 ครั้ง