• เทคโนโลยีการคำนวณ - ครูฐปนีย์ดา สัมฤทธิ์รินทร์
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

เรื่อง การประมวลผลข้อมูล

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
          ตัวชี้วัด ม.3/2  ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิเคราะห์สื่อและผลกระทบจากการให้ข่าวสารที่ผิด เพื่อการใช้งานอย่างรู้เท่าทัน
2.สาระการเรียนรู้
          การรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ประมวลผล สร้างทางเลือก ประเมินผล จะทำให้ได้สารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาหรือการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประมวลผลเป็นการกระทำกับข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน
การใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายในการรวบรวม ประมวลผลสร้างทางเลือก ประเมินผล นำเสนอ จะช่วยให้แก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ
3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
          การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆต้องวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลไปใช้ เพื่อนำไปสู่การเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเหมาะสม เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสำรวจ การสนทนากลุ่ม หลังจากนั้นจึงออกแบบเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และดำเนินการเก็บข้อมูลตามที่ได้วางแผนไว้ เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วต้องมีการตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการนำไประมวลผลต่อไป
4.จุดประสงค์การเรียนรู้    
  1. นักเรียนอธิบายขั้นตอนการนำข้อมูลไปประมวลผลได้ (K)
  2. นักเรียนสามารถนำการประมวลผลข้อมูลไปใช้งานได้ (P)
  3. นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้ (A)
5. คำถามสำคัญ  (Big Question)
          การประมวลผลข้อมูลมีกี่วิธี อะไรบ้าง
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 และปรับปรุง 2560
          ใฝ่เรียนรู้
7. คุณค่าพระวรสาร ความซื่อตรง (regularity)
8. ทักษะการคิด
  1. การคิดวิเคราะห์
  2. การคิดสังเคราะห์
9. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  1. ความสามารถในการสื่อสาร
  2. ความสามารถในการคิด
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  4. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
10. ภาระงาน/ชิ้นงาน/ร่องรอย/หลักฐานการเรียนรู้
  1. แบบฝึกหัดท้ายบท/ใบกิจกรรม
  2. สังเกตพฤติกรรมมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
11. การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
ชั่วโมงที่ 1
1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูตั้งคำถามกับนักเรียน “นักเรียนเคยสังเกตไหมว่า เมื่อเข้าเว็บไซต์ เครือข่ายสังคม หรือแอปพลิเคชันในการสั่งซื้อสินค้า จะมีข้อมูลโฆษณาสินค้า หรือข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนสนใจปรากฎอยู่เสมอ”ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดการโฆษณานั้น
2)  ขั้นสอน โดยใช้กระบวนการสร้างเจตคติ
  1. สังเกต
ครูยกตัวอย่างการนำข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลไปใช้ เช่น การเลือกตั้งประธานาธิบดี การคาดเดาพฤติกรรมแม่ตั้งครรภ์เพื่อส่งคูปองลดราคาสินค้า เป็นต้น ซึ่งเป็นการนำข้อมูลมาใช้งานให้เกิดประโยชน์
  1. วิเคราะห์
1.ครูให้นักเรียนศึกษาหัวข้อ 4.2 การนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา เรื่องการนิยามปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา การรวบรวมข้อมูล และการเตรียมข้อมูล และครูอธิบายเพิ่มเติมเพื่อให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้น
2.ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 4.1 จากหนังสือเรียน
  1. สรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องการนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา
3)  ขั้นสรุป
          ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องการนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา
 
ชั่วโมงที่ 2
1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
          ครูทบทวนบทเรียนในชั่วโมงที่ผ่านมา เรื่องการนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา
2)  ขั้นสอน โดยใช้กระบวนการสร้างเจตคติ
  1. สังเกต
ครูตั้งคำถามกับนักเรียน เราจะมีการประมวลผลข้อมูลแบบไหนได้บ้าง
  1. วิเคราะห์
1.ครูให้นักเรียนศึกษาหัวข้อที่ 5.การประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
2.นักเรียนทำกิจกรรมที่ 4.2 และแบบฝึกหัดท้ายบท
  1. สรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องการนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา
3)  ขั้นสรุป
          ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป เรื่องการนำข้อมูลมาใช้แก้ปัญหา
12. ระบุเทคนิคการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1 รายการ
  1. ใช้บรรยาย
  2. ใช้กรณีตัวอย่าง
13. สื่อและแหล่งเรียนรู้
  1. หนังสือเรียน
  2. สไลด์สื่อประกอบการสอน

วิดีโอที่ 1



วิดีโอที่ 2


 

เข้าดู : 1860 ครั้ง