• เทคโนโลยีการคำนวณ - ครูฐปนีย์ดา สัมฤทธิ์รินทร์
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

เรื่อง การสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้

1.มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้
สาระที่ 4 เทคโนโลยี
          มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจ และใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงาน และการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม
          ตัวชี้วัด ม.3/1 พัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่นอย่างสร้างสรรค์
          ตัวชี้วัด ม.3/2 รวบรวมข้อมูล ประมวลผล ประเมินผล นำเสนอข้อมูลและสารสนเทศ ตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย
2.สาระการเรียนรู้
ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน เช่น Scratch, python, java, c, AppInventor
การประมวลผลเป็นการกระทำกับข้อมูลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน
3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
          การเขียนโปรแกรมที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของโปรแกรมได้ดีขึ้นใช้งานง่าย และมีความน่าสนใจ ในภาษาไพทอน สามารถทำได้โดยการใช้ tkinter ซึ่งเป็นโมดูลที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมที่มีส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้
4.จุดประสงค์การเรียนรู้    
  1. นักเรียนอธิบายหลักการเขียนโปรแกรมสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ได้ (K)
  2. นักเรียนเขียนโปรแกรมสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ได้ (P)
  3. นักเรียนมุ่งมั่นในการทำงาน (A)
5. คำถามสำคัญ  (Big Question)
          การออกแบบหน้าตาโปรแกรมช่วยให้การใช้งานโปรแกรมได้ง่ายอย่างไร
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลาง 2551 และปรับปรุง 2560
          มุ่งมั่นในการทำงาน
7. คุณค่าพระวรสาร การงาน (work)
8. ทักษะการคิด
  1. การคิดวิเคราะห์
  2. การคิดสังเคราะห์
  3. การคิดแก้ปัญหา
9. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
  1. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
10. ภาระงาน/ชิ้นงาน/ร่องรอย/หลักฐานการเรียนรู้
  1. แบบฝึกหัดท้ายบท/ใบกิจกรรม
  2. สังเกตพฤติกรรมมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
11. การออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน
 
ชั่วโมงที่ 1-2
1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ครูให้นักเรียนยกตัวอย่างการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือแอปพลิเคชันในชีวิตประจำวันที่ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้เรียนสะดวกมากขึ้น เช่น แอปพลิเคชันพยากรณ์อากาศ แอปพลิเคชันแสดงสภาพการจราจร
2)  ขั้นสอน โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ
          1.การสังเกต/รับรู้
                    ครูแนะนำให้นักเรียนรู้จักโมดูล tkinter ซึ่งเป็นโมดูลในภาษาไพทอนที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ ซึ่งมี 4 ขั้นตอนในการใช้งานโมดูล tkinder และเป็นการนำไปสร้างแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลข
          2.การทำตามแบบ
                    1.ครูสอนนักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างที่ 2.1.1 การสร้างหน้าต่างหลักด้วย tkinter แล้วรันโปรแกรมเพื่อแสดงผลลัพธ์ ครูอธิบายเพิ่มเติม
                   2.ครูสอนนักเรียนเขียนโปรแกรมตามตัวอย่างที่ 2.1.2 การเพิ่มปุ่มลงในหน้าต่างหลัก แล้วรันโปรแกรมเพื่อแสดงผลลัพธ์
          3.การทำโดยไม่มีแบบ
                    ครูให้นักเรียนเขียนโปรแกรมเขียนโปรแกรมเพิ่มวิดเจ็ตลาเบลลงในหน้าต่างหลัก
          4.การฝึกให้เกิดทักษะ
                   ครูให้นักเรียนเขียนโปรแกรมการเพิ่มปุ่มตัวเลขบนเครื่องคิดเลข
 3)  ขั้นสรุป
          ครูและนักเรียนร่วมกันสรุป การใช้งานโมดูล tkinder
 
ชั่วโมงที่ 3-4
1)  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน 

              ครูทบทวนบทเรียนในคาบที่เเล้ว
2)  ขั้นสอน โดยใช้กระบวนการปฏิบัติ
          1.การสังเกต/รับรู้
                     ครูอธิบายการจัดวางวิดเจ็ตแบบกริด
          2.การทำตามแบบ
                    ครูสอนนักเรียนเขียนโปรแกรมการจัดวางวิดเจ็ตแบบกริด
          3.การทำโดยไม่มีแบบ
                   ครูให้นักเรียนเขียนโปรแกรมการทำงานของแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลข
          4.การฝึกให้เกิดทักษะ
                   ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 2.2 และแบบฝึกหัดท้ายบท
3)  ขั้นสรุป
          ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุป การใช้งานโมดูล tkinder        
12. ระบุเทคนิคการสอนที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ได้มากกว่า 1 รายการ
  1. ใช้บรรยาย
  2. ใช้กรณีตัวอย่าง
  3. ใช้การปฏิบัติ
13. สื่อและแหล่งเรียนรู้
  1. หนังสือเรียน
  2. สไลด์สื่อประกอบการสอน

PPT การสร้างส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้



วิดีโอที่ 1



วิดีโอที่ 2



โหลดใบกิจกรรมที่ 2.2
 

เข้าดู : 1250 ครั้ง