• วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม - ครูนัฐจิรา ปิดตาทะโน
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

กำหนดการสอนรายวิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม รหัสวิชา ส21101

คำอธิบายรายวิชา
21101                วิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่ 1                                                        1.5  หน่วยกิต                                                       3  คาบ / สัปดาห์
ศึกษา    วิเคราะห์ อธิบาย  ปฏิบัติ  เกี่ยวกับการสังคายนา  การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย  ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยรวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว  พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวก  สาวิกา  ชาดก  ศาสนิกชนตัวอย่าง หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ศาสนิกชนของศาสนาอื่นๆ   หลักธรรมเรื่อง  พระรัตนตรัย  อริยสัจ 4   พุทธศาสนสุภาษิต  สวดมนต์แปลและแผ่เมตตา  ปฏิบัติตามหลักธรรม ที่ตนนับถือ และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อศาสนิกชนอื่นในสถานการณ์ต่างๆศึกษา  อธิบาย  ปฏิบัติ  เกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด  วิถีชีวิตของพระภิกษุ บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา  การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ  ศาสนพิธี  พิธีกรรม ประวัติความสำคัญ การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา    เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ  เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ตระหนักในคุณค่าของหลักธรรม และให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองสังคมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ศึกษา    วิเคราะห์   อธิบาย อภิปราย    ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น  การบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ  หลักการในการบริโภคที่ดี  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการบริโภค ค่านิยมและพฤติกรรมของการบริโภคของคนในสังคมปัจจุบันรวมทั้งผลดีและผลเสียของพฤติกรรมดังกล่าว  ความหมาย  ประเภทและความสำคัญของสถาบันการเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ  บทบาทหน้าที่และความสำคัญของธนาคารกลาง  การหารายได้  รายจ่าย การออม  การลงทุน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต  ผู้บริโภค  และสถาบันการเงิน  ความหมายของคำว่าทรัพยากรที่มีจำกัดความต้องการมีไม่จำกัด ความขาดแคลน การเลือกและเสียโอกาส  ความหมายความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อสังคมไทย   ความหมายและความสำคัญของการมีกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ความหมายและอุปสงค์ อุปทาน  ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์  อุปทาน   ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยกันและกัน  การแข่งขันทางเศรษฐกิจในประเทศไทย  ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนประเทศ  และเสนอแนวทางแก้ไข  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจ ในฐานะผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า  และนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ส 1.1   ม.1/1  ม.1/2  ม.1/3  ม.1/4  ม.1/5  ม.1/6  ม.1/7  ม.1/8  ม.1/9  ม.1/10  ม.1/11
มาตรฐาน ส 1.2   ม.1/1  ม.1/2  ม.1/3  ม.1/4  ม.1/5 
มาตรฐาน ส 3.1  ม.1/1  ม.1/2  ม.1/3   
มาตรฐาน ส 3.2  ม.1/1  ม.1/2  ม.1/3  ม.1/4 
รวม 23 ตัวชี้วัด
 
 
 
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ส 21101  ภาคเรียนที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    เวลา  60  ชั่วโมง   จำนวน    1.5   หน่วยกิต
  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา
(ชั่วโมง)
คะแนน
 
1
 
ศรัทธาในพระพุทธ
ส 1.1
1. อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือเข้าสู่ประเทศไทย
2. วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือที่มีต่อสภาพแวดล้อมในสังคมไทยรวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว
3. วิเคราะห์พุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึงบำเพ็ญทุกรกิริยาหรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้าสู่ประเทศไทยหลังจากสังคายนาครั้งที่ 3 ซึ่งกระทำกันในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช ณ อโศกานาราม เมื่อปาฏลีบุตรประเทศอินเดียตั้งแต่นั้นมาคนไทยก็ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนามาโดยตลอดการที่คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาทำให้พระพุทธศาสนามีความสำคัญต่อสังคมไทยในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติ เป้นสถาบันหลักและเป็นสภาพแวดล้อมที่กว้างขวางครอบคลุมสังคมไทย 10 10
 
2
 
ศรัทธาในพระธรรม
ส 1.1
5. อธิบายพุทธคุณและข้อธรรมในกรอบอริยสัจ 4 หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามกำหนดเห็นคุณค่าและนำไปพัฒนาแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว
8. วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
พุทธคุณ คือคุณความดีของพระพุทธเจ้า ที่มีต่อชาวโลกแม้จะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปเป็นเวลากว่า 2500 ปี แล้วแต่ชาวโลกที่เป็นพุทธศาสนิกชนยังรำลึกถึงความดีของพระองค์อยู่เสมอ
  อริยสัจ เป็นหลักความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าค้นพบเป็นหลักสำคัญในการแก้ปัญหาชีวิตและเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
20 30
 
 
 
 
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ส 21101  ภาคเรียนที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    เวลา  60  ชั่วโมง   จำนวน    1.5   หน่วยกิต
  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา
(ชั่วโมง)
คะแนน
 
 
 
 
ส 1.1
6. เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือวิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียมและวิธีคิดแบบคุณ - โทษและทางออกหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ
7. สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติหรือตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
การบริหารจิต เป็นการรักษาจิตให้มีความสงบมีหลายวิธีที่ใช้กันมาก คือ  สติปัฏฐานและอานาปานสติ   การเจริญปัญญา เป็นการฝึกอบรมให้มีความรู้ความเข้าใจ มี 3 วิธี  ได้แก่ การฟัง  การคิด การลงมือปฏิบัติ สำหรับการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการคิด พระพุทธศาสนาได้เสนอไว้ 10 วิธี เรียกว่า โยนิโสมนสิการ  ในชั้นนี้กำหนดให้ศึกษา 2 วิธี คือ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม และแบบคุณ – โทษ และทางออก    
 
3
 
ศรัทธาในพระสงฆ์
ส 1.1
4. วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติ สาวก  ชาดก  เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างที่กำหนด
9. วิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ศาสนาอื่นๆ
10. ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม
พุทธสาวก   พุทธสาวิกา  และชาวพุทธตัวอย่างเป็นผู้สืบทอดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาศาสนิกชน
พึงต้องศึกษา ประวัติ และนำแนวทางในการปฏิบัติของท่านมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตของตน
ชาดก เป็นเรื่องเล่าที่พระพุทธเจ้ายกแสดงขึ้นประกอบการอธิบายหลักธรรมเพื่อให้เห็นภาพพจน์ได้ง่ายขึ้นซึ่งแต่ละเรื่องจะเป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้าและบุคคลอื่นในการทำความดี 
10 10
 
 
 
 
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ส 21101  ภาคเรียนที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    เวลา  60  ชั่วโมง   จำนวน    1.5   หน่วยกิต
  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา
(ชั่วโมง)
คะแนน
 
 
 
 
ส 1.1
11. วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์และนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเอง
ส 1.2
1. บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตน
นับถือ
2. อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติและประพฤติตนอย่างเหมาะสมต่อสาวกของศาสนาที่ตนนับถือ
3. ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆตามหลักศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด
4. จัดพิธีกรรม และปฏิบัติตนในศาสนพิธี  พิธีกรรมได้ถูกต้อง
5. อธิบายประวัติ ความสำคัญและปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง
 
ในฐานะศาสนิกชนจะต้องปฏิบัติตนในการบำเพ็ญประโยชน์ในการบำรุงวัดหรือศาสนสถานต่างๆตามศาสนาที่ตนนับถือ และต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมารยาทชาวพุทธเพื่อจะได้ปฏิบัติตนตามมารยาทชาวพุทธรวมถึงการเข้าร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในโอกาสต่างๆ
   ศาสนพิธีเป็นพิธีกรรมการปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยน้อมนำไปสู่การศึกษาและปฏิบัติตามหลักคำสอนของศาสนาการประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ศาสนิกชนควรปฏิบัติให้ถูกต้อง
  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่ศาสนิกชนยอมรับนับถือว่ามีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์
   
 
 
 
 
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ส 21101  ภาคเรียนที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    เวลา  60  ชั่วโมง   จำนวน    1.5   หน่วยกิต
  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา
(ชั่วโมง)
คะแนน
 
4
 
เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น
ส 3.1
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์
เศรษฐศาสตร์เป็นแขนงวิชาหนึ่งของสังคมศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนเราโดยเป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในฐานะผู้ผลิตและบริโภค 2 5
 
5
 
เศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน
ส 3.1
2. วิเคราะห์ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ
ส 3.2
4. อภิปรายผลของการมีกฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
เศรษฐศาสตร์มีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ผลิต ผู้บริโภค เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือรัฐบาล เพราะเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มุ่งทำความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์ด้านเศรษฐกิจเพื่อใช้ความรู้นั้นให้ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจของตน 5 15
6 อุปสงค์- อุปทาน ส 3.2
3. ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน
 
ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หรือแบบตลาด การดำเนินงานการตัดสินใจทางเศรษฐกิจล้วนเป็นไปตามภาวะตลาดหรือกลไกราคา  ราคาจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะตลาด ซึ่งขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทาน 4 10
 
7
 
เศรษฐกิจพอเพียง
ส 3.1
3. อธิบายความเป็นมา  หลักการ และความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ความสามัคคีและการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และการจัดการที่ดี หากประชาชนนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจะช่วยให้ครอบครัวมีความสุข  และมีฐานะความป็นอยู่ที่ดีขึ้นและคนในชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น 4 10
 
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  ส 21101  ภาคเรียนที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1    เวลา  60  ชั่วโมง   จำนวน    1.5   หน่วยกิต
  ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา
(ชั่วโมง)
คะแนน
8 สถาบันการเงิน ส 3.2
1. วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และความแตกต่างของสถาบันการเงินแต่ละประเภทและธนาคารกลาง
2. ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยกันและการแข่งขันทางเศรษฐกิจในประเทศ
สถาบันการเงินมีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกิจกรรมการออม  การลงทุน ของภาคครอบครัวและภาคธุรกิจเข้าด้วยกันโดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์มีบทบาทสำคัญในการรับฝากเงินและถอนเงิน การโอนเงิน  การให้กู้ยืมและการบริการอื่นๆจากประชาชนทั่วไป การดำเนินกิจกรรมของธนาคารพาณิชย์จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารกลางมีหน้าที่ในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินและดูแลระบบการเงินให้มั่นคง และก้าวหน้าแต่ละสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ ต่างก็มีบทบาทสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางการเงิน  เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ 5 10
การวัดผลปลายภาคเรียน    
รวมตลอดภาคเรียน 60 100
             
 
การวัดและการประเมินผล                                               ระหว่างภาค (70) :  ปลายภาค (30)
1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์                                                                          10           คะแนน
2. ทดสอบย่อย                                                                                                     20           คะแนน
3. ค้นคว้าด้วยตนเอง +  สมุดจดงาน                                                              20           คะแนน
4. สอบกลางภาค                                                                                                 20           คะแนน
5. สอบปลายภาค                                                                                 30           คะแนน
 
 
 
สื่อการเรียนการสอน
  1. หนังสือเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ของกระทรวงศึกษาธิการ  2551
  2. วีดิทัศน์
  3. ห้องสมุด
  4. อินเตอร์เน็ต
  5. ใบกิจกรรม
  6. แบบฝึกทักษะ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้ตามตัวชี้วัด/จุดประสงค์
มฐ. ที่ หน่วยการเรียนรู้ ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้  
 /ผลการเรียนรู้
คะแนนที่ประเมิน
ชื่อหน่วย ชั่วโมง ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณธรรมจริยธรรม รวม คะแนนกลางภาค คะแนนปลายภาค รวมคะแนนทั้งหมด
K P A        
ส 1.1
 
 
พระพุทธ 10
 
1. อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือเข้าสู่ประเทศไทย 1 - 1 2 1 - 3
 2. วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือที่มีต่อสภาพแวดล้อมในสังคมไทยรวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว 1 1 1 3 1 - 4
3. วิเคราะห์พุทธประวัติตั้งแต่ประสูติจนถึงบำเพ็ญทุกรกิริยาหรือประวัติศาสดาที่ตนนับถือตามที่กำหนด 1 1 - 2 1 - 3
 ส 1.1
 
 
 
พระธรรม
 
 
20
 
 
4.  อธิบายพุทธคุณและข้อธรรมในกรอบอริยสัจ 4 หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามกำหนดเห็นคุณค่าและนำไปพัฒนาแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว 3 1 1 5 3 - 8
5. วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียงและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข 3 1 1 5 2 - 7
6. เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และการดำเนินชีวิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือวิธีคิดแบบคุณค่าแท้ คุณค่าเทียมและวิธีคิดแบบคุณ - โทษและทางออกหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ 3 1 1 5 3 - 8
7. สวดมนต์ แผ่เมตตา บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติหรือตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด 3 1 1 5 2 - 7
 
 ส 1.1
 
 
 
พระสงฆ์
 
 
10
 
 
 
 
8. วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่างการดำเนินชีวิตและข้อคิดจากประวัติ สาวก  ชาดก  เรื่องเล่า และศาสนิกชนตัวอย่างที่กำหนด 1 1 1 3 1 - 4
9.  วิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นที่ทุกคนต้องศึกษาเรียนรู้ศาสนาอื่นๆ 1 - - 1 1 - 2
10. ปฏิบัติตนต่อศาสนิกชนอื่นในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม - - 1 1 1   2
11. วิเคราะห์การกระทำของบุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านศาสนสัมพันธ์และนำเสนอแนวทางการปฏิบัติตนเอง - - - - 1 - 1
12. บำเพ็ญประโยชน์ต่อศาสนสถานของศาสนาที่ตนนับถือ - - - - 1 - 1
13. .อธิบายจริยวัตรของสาวกเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติและประพฤติตนอย่างเหมาะสมต่อสาวกของศาสนาที่ตนนับถือ - - - - 1 - 1
14.ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อบุคคลต่างๆตามหลักศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด - - - - 1 - 1
15.จัดพิธีกรรม และปฏิบัติตนในศาสนพิธี  พิธีกรรมได้ถูกต้อง - - - - - - -
16.อธิบายประวัติ ความสำคัญและปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง
 
 
 
- - - - - - -
ส 3.1 เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 2
 
1. อธิบายความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์ 1 1 1 3 - 2 5
ส 3.1
 
 
 
 
 เศรษฐศาสตร์กับชีวิตประจำวัน  5 ส 3.1
2. วิเคราะห์ค่านิยมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในสังคมซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชนและประเทศ
3 2 2 7 - 8 15
ส 3.2
3. อภิปรายผลของการมีกฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
1 1 1 3 - 2 5
ส 3.2
 
อุปสงค์- อุปทาน 4 4. ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์และอุปทาน 2 1 1 4 - 6 10
ส 3.1
 
เศรษฐกิจพอเพียง 4 5. อธิบายความเป็นมา  หลักการ และความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย 2 1 1 4 - 6 10
ส 3.2
 
สถาบันการเงิน 5 6. วิเคราะห์บทบาทหน้าที่และความแตกต่างของสถาบันการเงินแต่ละประเภทและธนาคารกลาง 1 1 - 2 - 3 5
7. ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยกันและการแข่งขันทางเศรษฐกิจในประเทศ 1 1 - 2 - 3 5
  รวม 60   20 20 10 50 20 30 100
 
 

เข้าดู : 5864 ครั้ง