แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 4
เรื่อง การจัดตารางเวลา เวลา 1 ชั่วโมง
หน่วยการจัดกิจกรรม การศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
1. สาระสำคัญ
การรู้จักวางแผนการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดย่อมได้เปรียบกว่าผู้อื่นเพราะใน 1 วัน
มี 24 ชั่วโมง คนที่สามารถตักตวงผลประโยชน์จากเวลาที่เท่ากันให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่าย่อมจะพบความก้าวหน้าในชีวิตมากกว่าคนอื่น ดังนั้นจึงควรบริหารเวลาของตนเองโดยการจัดตารางเวลาให้เหมาะสมตามความพร้อมของตนเองจะช่วยลดความเครียดจากการเรียนและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนให้สูงขึ้น
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
- เพื่อให้นักเรียนรู้และเข้าใจตนเองมากขึ้นว่าการจัดตารางเวลาของตนเองส่งผลต่อวิถีชีวิตและระดับผล การเรียนอย่างไร
- เพื่อให้นักเรียนรู้วิธีการบริหารเวลาเพื่อสามารถจัดการการใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อให้นักเรียนสามารถจัดตารางเวลาได้เหมาะสมตามความพร้อมของตนเอง
3. สาระการเรียนรู้
รู้จักตนเอง
4. ชิ้นงาน/ภาระงาน
ใบงาน
5. วิธีการจัดกิจกรรม
ขั้นนำ
- นำแผ่นป้ายที่เขียนข้อความ “เวลาและวารี ไม่ยินดี คอยท่าใคร ผันผ่านทุกกาลไป ก็ยากไร้ จะเรียกคืน” ติดไว้ที่กระดานดำหน้าห้องเรียน
ขั้นกิจกรรม
- นักเรียนอภิปรายข้อความนี้ว่ามีความสำคัญ และเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนอย่างไรและนักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้เวลาอย่างไร
- สุ่มตัวอย่างนักเรียน 2-3 คน ให้มาเล่าถึงการใช้เวลาของตนเอง
- นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง การบริหารเวลา
- นักเรียนทำใบงาน เรื่อง การจัดตารางเวลา
ขั้นสรุป
- นักเรียนร่วมกันสรุปให้เห็นว่าคนเราแต่ละคนมีความพร้อมต่างกัน การจัดตารางเวลาของแต่ละคนก็ย่อมขึ้นอยู่กับความพร้อมของคน ๆ นั้น
- ครูสรุปเพิ่มเติม และให้ข้อคิดแก่นักเรียนว่า ตารางเวลาจะมีผลในทางปฏิบัติก็ต่อเมื่อผู้เป็นเจ้าของตารางนั้นมีวินัยในตัวเอง และปฏิบัติตามตารางนั้นอย่างสม่ำเสมอ
6. สื่อ/อุปกรณ์
- ใบความรู้ แผ่นป้ายข้อความ “เวลาและวารี ไม่ยินดี คอยท่าใคร ผันผ่านทุกกาลไป
ก็ยากไร้ จะเรียกคืน”
- ใบความรู้ เรื่อง การบริหารเวลา
- ใบงาน ตารางการจัดเวลาใน 1 สัปดาห์
7. การประเมินผล
การประเมิน
- ตรวจใบงาน เช่น ตรวจความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ความเรียบร้อย
- สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ เช่น ความสนใจในการฟัง การซักถาม การตอบคำถาม
และการร่วมอภิปราย
- สังเกตการทำงานกลุ่ม
เครื่องมือ
แบบสังเกตพฤติกรรม
เกณฑ์การประเมิน
ระดับคุณภาพ |
ข้อความบ่งชี้คุณภาพ |
ผ่าน |
ทำใบงานส่ง ให้ความสนใจในการฟัง การซักถาม การตอบคำถาม การร่วมอภิปราย |
ไม่ผ่าน |
ไม่ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดใน 5 ข้อ |
8. ข้อเสนอแนะ
- เชิญศิษย์เก่าที่ประสบผลสำเร็จในการเรียนมาพูดให้นักเรียนฟังเรื่อง การใช้เวลา
- หาอาสาสมัครนักเรียนที่มีผลการเรียนดีแต่ละวิชามาเล่าถึงเรื่องการจัดตารางเวลาในการอ่านหนังสือของตนเอง
ใบความรู้เรื่อง การบริหารเวลา
การบริหารเวลา
คนส่วนมากมักมีปัญหาทำงานไม่ทัน ไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำ เพราะไม่สามารถจัดสรรเวลาให้ลงตัวได้ หลายคนไม่อาจทำงานที่สำคัญให้เสร็จทันเวลา ทำให้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นดินพอกหางหมู
เริ่มต้นบริหารเวลากันใหม่ ลองคิดว่ากิจกรรมทั้งหมดที่จะต้องทำมีอะไรบ้าง
แบ่งประเภท เช่น สำคัญและเร่งด่วน สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ งานจุกจิก เราควรทำงานประเภทใดก่อน
1.
ประเภทสำคัญและเร่งด่วน คือ งานที่จะต้องทำให้สำเร็จโดยทันทีหรือในอนาคตอันใกล้ เช่น งานที่มีเส้นตาย กำหนดนัดหมายแน่นอน งานประเภทนี้เป็นงานที่เราต้องรีบทำและให้ความสำคัญมากอยู่แล้ว จึงไม่ค่อยมีปัญหาในการจัดสรรเวลาให้
2. ประเภทสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน งานประเภทนี้จะพิสูจน์ความสามารถของเราในการบริหารเวลา เพราะงานประเภทนี้จะมีความสำคัญต่อการกำหนดความก้าวหน้าของชีวิต การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต งานประเภทนี้ไม่ค่อยมีกำหนดเวลา จะลงมือทำก็ได้หรือผัดผ่อนไปก่อนก็ได้ แต่งานเหล่านี้จะทำให้เกิดทางเลือกใหม่ของชีวิต เช่น เข้าอบรมในหลักสูตรพิเศษที่จะช่วยส่งเสริมศักยภาพของตนเอง
3. ระเภทเร่งด่วนแต่ไม่สำคัญ คือ งานที่ต้องลงมือทำทันที อาจมีความสำคัญน้อยหรือแทบไม่มีเลย แต่ต้องทำเพราะแรงกดดัน เช่น กำหนดเวลาให้รีบส่ง งานประเภทนี้จึงมักสำเร็จด้วยดี
4. ประเภทจุกจิก งานประเภทนี้ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน แต่หลายคนเลือกที่จะรีบทำเพราะชอบทำ ทำแล้วดูเหมือนมีงานให้ทำเยอะ หรือเหมือนกับรู้สึกว่างานสำเร็จไปส่วนหนึ่ง
5. ประเภทเวลาที่สูญเปล่า หลายคนไม่อาจบริหารเวลาได้และพยายามหาข้ออ้างโดยโทษกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่สามารถชี้ให้เห็นว่าทำให้เวลาสูญเปล่า เช่น ฝนตก รถติด ต้องรอคนโน้นคนนี้ เพื่อเป็นข้อแก้ตัวสำหรับความไม่มีประสิทธิภาพของตน
เมื่อรู้คำตอบว่า กิจกรรมทุกอย่างมีลักษณะหรือประเภทกิจกรรมเป็นเช่นไร คงจะพอมองเห็นคำตอบว่า
วิธีการบริหารเวลาที่ดี คือการให้เวลากับงานที่มีความสำคัญจริง ๆ ให้มากอีกนิด แต่ทำไมหลายคนยัง
ทำไม่ได้ ทั้งนี้เพราะ
นิสัยของการผัดวันประกันพรุ่ง ซึ่ง
มาจากเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ความกลัว ใจลึก ๆ ของเราคือกลัว คนที่เกียจคร้าน เฉื่อยชา หลงลืม เพราะความกลัวพื้นฐาน เช่น กลัวเจ็บ เลยไม่ยอมไปหาหมอฟัน หรือความกลัวที่ซับซ้อน เช่น กลัวความล้มเหลว กลัวถูกปฏิเสธ กลัวอับอาย
ต้องวิเคราะห์ตัวเองว่า เรากลัวอะไร สิ่งที่เรากลัวมันรุนแรงจริงแค่ไหนหรือแค่เราคิดมากวิตกกังวลไปเอง มีวิธีใดที่จะช่วยบรรเทาความกลัวให้ลดลง ถ้าเราไม่กลัว โอกาสความสำเร็จจะเพิ่มขึ้น เช่น หาข้อมูลเพิ่ม ขอคำแนะนำจากผู้รู้ เตรียมตัวเองให้พร้อม ถามตัวเองว่าผัดผ่อนมานานแล้ว ถึงเวลาจะเริ่มต้นได้หรือยัง สิ่งที่จะเกิดขึ้นไม่ได้เลวร้าย ความกลัวเกิดจากการวาดภาพตัวเอง คิดเอง ลองสมมุติใหม่ วาดภาพใหม่ สร้างพลังให้กับตัวเอง สร้างความมั่นใจที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ ด้วยความมั่นใจ สุขุม นิ่งสงบ เมื่อคิดได้แล้วจงรีบลงมือทำทันที
2. ความลังเลใจ เป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางความสำเร็จ แสดงออกมาในรูปของการผัดผ่อน ขอเลื่อนจนกว่าข้อมูลจะพร้อม ยังไม่ลงมือทำ ซึ่งกว่าเราจะพร้อมคนอื่นเขาอาจก้าวหน้าไปไกลแล้ว แต่ความลังเลใจบางครั้งอาจเกิดประโยชน์ได้ เช่น ทำให้เกิดความรอบคอบ สุขุม มีวิจารณญาณ
3. ความเกียจคร้าน จะทำให้เราทำงานไม่เสร็จสักที ไม่มีเวลาพอสักที การไม่ยอมฮึดสู้ฝ่าด่านความสะดวกสบายแล้วลุกขึ้นมาทำสิ่งที่ควรทำ คนที่ฉลาดถ้าไม่ทำงานจะไม่มีวันมีผลงาน ความขี้เกียจจะเป็นตัวขัดขวาง คนที่จะแก้ไขได้คือตัวของเราเอง ต้องสร้างพลังให้ตัวเอง ทุกปัญหาแก้ได้ แม้แต่ การเอาชนะความเกียจคร้านของตนเอง ขั้นแรกหยุดคิดว่าตัวเองอ่อนด้อย ไร้ประสิทธิภาพ แต่ให้บอกตัวเองว่าฉันทำได้ เพราะเมื่อไรที่คิดว่าตัวเองทำได้ จะทำได้จริง ให้มองภาพความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจที่กระตุ้นให้เราทำสิ่งนั้นได้สำเร็จให้มองเห็นภาพความสำเร็จให้ชัดเจนและลงมือปฏิบัติทันที อย่าลืมว่าเส้นทางสู้ความสำเร็จไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการมีกฎเกณฑ์กับตนเอง การมีวินัยในตนเอง และสามารถควบคุมตนเองให้ทำในสิ่งที่ควรทำได้
4. ใฝ่ความสมบูรณ์จนเกินไป ความพยายามที่จะทำให้งานเป็นเลิศ แก้ไขอย่างไรก็ไม่สมบูรณ์สักที การทำงานสำเร็จหนึ่งชิ้น ควรรีบทำงานชิ้นต่อไป อย่าเสียเวลาทบทวนแก้ไขเพื่อให้สมบูรณ์แบบ เพราะคงไม่มีงานใดที่สมบูรณ์แบบร้อยเปอร์เซ็นต์
5. ขาดแรงจูงใจ ต่างคนต่างมีเป้าหมายชีวิตที่แตกต่างกัน คนที่ประสบความสำเร็จจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนและมีพลังผลักดันเพื่อไปสู่เป้าหมาย แรงจูงใจที่ชัดเจนและมากพอจะทำให้เกิดพลังชีวิตให้เราทำในสิ่งที่ควรทำและอยากทำ อย่ารอปาฏิหาริย์ จงรีบเร่งที่จะสร้างผลงาน เพื่อไปสู่เป้าหมายตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้
วิธีบริหารจัดสรรเวลา
- ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน ตอบตัวเองให้ได้ว่า เป้าหมายสูงสุดในชีวิตคืออะไร ให้เขียนเป็น
รูปธรรม เป็นสิ่งที่ทำได้จริง สำเร็จได้จริง หลีกเลี่ยงคำนามธรรม คำที่ทำไม่ได้ หรือสิ่งเพ้อฝัน และตั้งเป็นเป้าหมายระยะสั้น ๆ เล็ก ๆ เพื่อไปสู่เป้าหมายสูงสุด และจะต้องกำหนดช่วงระยะเวลาให้ชัดเจน
- เขียนรายการจัดสรรเวลา เขียนสิ่งที่ต้องทำทั้งหมด แล้วคัดเรื่องสำคัญที่ควรจะทำและจะทำ
ให้ชีวิตก้าวหน้า สอดแทรกสิ่งที่ควรทำลงไปในตารางการปฏิบัติงานให้ได้
- เมื่อหมดวัน บางรายการอาจทำไม่สำเร็จ ไม่ต้องกังวล เพราะเป้าหมายของการจัดสรรเวลา
เพื่อให้เราได้ทำในสิ่งที่ก่อประโยชน์ให้ได้มากที่สุด รายการที่ทำไม่เสร็จ ให้จัดสรรเวลาให้วันต่อไปหรือกระจายงานให้ผู้อื่นได้ช่วยทำบ้าง แล้วหาวิธีปรับปรุงเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้นหรือทำให้น้อยที่สุดแต่ได้คุณค่าสูงสุด
- วางแผน การวางแผนที่ดี ใช้เวลาวางแผนน้อยแต่ได้ผลคุ้มค่าและช่วยประหยัดเวลาควร
วางแผนในช่วงที่ใจสงบไม่ใช่รีบร้อน เพื่อจะได้มองภาพงานที่จะต้องทำได้ชัดเจนและคิดได้รอบคอบกว่า ถามตัวเองว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรทำ จัดสรรเวลาให้ได้ วางแผนโครงการที่จะทำแล้วลงรายละเอียด เพื่อให้รู้ตัวล่วงหน้าว่าจะต้องทำอะไรให้เสร็จเมื่อไร ส่วนใดที่เป็นปัญหาและควรหาทางแก้ไขอย่างไร
- รู้จักปฏิเสธ ในสิ่งที่จะทำให้เราเสียเวลา สิ่งที่ไร้สาระ ความเกรงใจทำให้เราเสียเวลาเราควร
ใช้เหตุผลเพื่ออธิบายว่า เหตุใดจึงไม่ควรเสียเวลาทำเรื่องนี้ อย่างนี้ แต่ควรทำแบบอื่นที่จะให้ประโยชน์มากกว่าแต่เสียเวลาน้อยกว่า
- ใช้เวลาทุกนาทีให้มีคุณค่า แม้แต่เวลาที่เรานั่งรอใครสักคน รอรถประจำทาง การอ้างว่าไม่มี
เวลาทำ เพราะเราไม่ใช้เวลาให้คุ้มค่าต่างหาก มีเวลามากมายซ่อนอยู่ เวลาเหล่านี้มากพอที่จะช่วยให้เราทำสำเร็จได้ เตรียมตัวให้พร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากเวลาเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เราเคยมองว่าไร้ค่า ไม่ว่าจะต้องรอใครสักคน รอเครื่องบิน หรือรอคิวในธนาคาร เวลาทุกนาทีมีค่าทั้งนั้นถ้ารู้จักใช้ ถ้าจะบ่นว่าเสียเวลา จำไว้ว่าคนที่ทำให้เวลาเสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็
คือตัวเราเองเท่านั้น ไม่มีใครทำลายเวลาของเราได้
ใบงานเรื่อง ตารางการจัดเวลาใน 1 สัปดาห์
ชื่อ-สกุล..........................................................................ชั้น................................เลขที่............................
คำชี้แจง หลังจากศึกษาใบความรู้ เรื่อง การบริหารเวลาแล้วให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
- ประเภทของงาน
1..................................................................................................................................................
2.................................................................................................................................................
3.................................................................................................................................................
4.................................................................................................................................................
- สาเหตุที่ทำให้การบริหารเวลาไม่ประสบความสำเร็จคือ
1..................................................................................................................................................
2.................................................................................................................................................
3.................................................................................................................................................
4.................................................................................................................................................
5.................................................................................................................................................
- บอกวิธีการบริหารเวลา
1..................................................................................................................................................
2.................................................................................................................................................
3.................................................................................................................................................
4.................................................................................................................................................
5.................................................................................................................................................
6.................................................................................................................................................
- ข้อดีของการบริหารเวลา
1..................................................................................................................................................
2.................................................................................................................................................
3.................................................................................................................................................
4.................................................................................................................................................
5.................................................................................................................................................
- การจัดตารางเวลาใน 1 สัปดาห์
วันจันทร์-วันศุกร์
วัน-เวลา |
|
|
|
|
|
|
|
|
จันทร์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
อังคาร |
|
|
|
|
|
|
|
|
พุธ |
|
|
|
|
|
|
|
|
พฤหัสบดี |
|
|
|
|
|
|
|
|
ศุกร์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
วันเสาร์-วันอาทิตย์