• สังคมศึกษา - ครูสุรางค์ ประทุมเมศ
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

โครงสร้างรายวิชา

 

โครงสร้างรายวิชา ส2201
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  (ส  22101)     ภาคเรียนที่  1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2        เวลา  60  ชั่วโมง    จำนวน    1.5     หน่วยกิต
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา น้ำหนักคะแนน
1 ประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนาในประเทศเพื่อนบ้าน ส.  1.1
1.  อธิบายการเผยแผ่พระพุทธศาสนาหรือ
     ศาสนาที่ตนนับถือสู่ประเทศเพื่อนบ้าน
2.  วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือที่ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน
3.  วิเคราะห์ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ ในฐานะที่เป็นรากฐานของวัฒนธรรม
4.  อภิปรายความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือกับการพัฒนาชุมชนและจัดระเบียบสังคม
พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้หลักธรรม  ได้ประกาศเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังภูมิภาคต่าง ๆ โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชผู้ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์สำคัญของพระพุทธศาสนา  ได้ทรงจัดส่งสมณทูตเดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนต่าง ๆ ส่งผลให้ดินแดนประเทศไทยรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านยอมรับพระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาสำคัญของชาติ  ช่วยให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างสังคมแต่ละสังคม  เป็นรากฐานของวัฒนธรรมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์และมรดกที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ 4 10
2 พุทธประวัติ  ประวัติสาวก  ชาดกและ
ศาสนิกชนตัวอย่าง
ส. 1.1
1.  วิเคราะห์พุทธประวัติหรือประวัติศาสนา ที่ตนนับถือตามที่กำหนด
พระพุทธเจ้าเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยความดีงาม  พุทธสาวกเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา ซึ่งสิ่งสำคัญใน 10 10
   
    2.  วิเคราะห์และประพฤติตนตามแบบอย่าง      การดำเนินชีวิต  และข้อคิดจากประวัติ       สาวก  ชาดก  เรื่องเล่าและ
ศาสนิกชน    ตัวอย่างตามที่กำหนด
การสร้างศรัทธาให้แก่คนทั่วไป  พระจริยาวัตรดันงดงาม  คุณธรรมอันเป็นแบบอย่าง  ตลอดจนการศึกษาเรื่องราวของมิตตวินทุกชาดก  และราโชวาทชาดกทำให้เป็นคติเตือนใจประพฤติตนอยู่ในหลักธรรม  นำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของบุคคลในสังคมปัจจุบันได้    
3 พระไตรปิฎก ส.  1.1
1.  อธิบายโครงสร้างและสระโดยสังเขป     ของพระไตรปิฎกหรือคัมภีร์ของศาสนา     ที่ตนนับถือ
พระไตรปิฎกเป็นคัมภีร์เก็บรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่ประชาชนรวมเรียกว่าพระธรรมวินัย  พระไตรปิฎกจึงถือเป็นหลักฐานเรียนรู้หลักคำสอนของพุทธศาสนาสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 6 10
4 หลักธรรมและพุทธศาสนสุภาษิต ส.  1.1
1.  อธิบายธรรมคุณและข้อธรรมสำคัญใน     กรอบอริยสัจ  4  หรือหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือตามที่กำหนด  เห็นคุณค่าและนำไป
พระรัตนตรัยประกอบด้วย  พุทธคุณ  9,  ธรรมคุณ 6,  สังฆคุณ  9  ซึ่งมีคุณค่าต่อชาวโลกโดยเฉพาะหลักธรรมเปรียบเสมือนแก่นของพระพุทธศาสนา  ซึ่งพระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบอริยสัจ  4  อันเป็นหลักความจริง 10
 
10
 
 
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  (ส  22101)     ภาคเรียนที่  1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2        เวลา  60  ชั่วโมง    จำนวน     1.5     หน่วยกิต
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา น้ำหนักคะแนน
    พัฒนาแก้ปัญหาของ
    ชุมชนและสังคม
จริงอันประเสริฐเพื่อทำให้เป็นหลักในการปฏิบัติตนเพื่อให้พ้นทุกข์  หมดปัญหารวมทั้งมีการนำสาระคำสอนที่เรียกว่าพุทธศาสนสุภาษิตซึ่งเป็นการสรุปคำสอน
สั้น ๆแต่แฝงด้วยปรัชญาธรรม
 คติธรรมที่เป็นข้อคิดสอนใจอันจะเป็นประโยชน์ต่อการนำไปเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
   
5 การบริหารจิตและเจริญปัญญา ส.  1.1
1.  เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตเพื่อการเรียนรู้และดำเนินชีวิตแบบโยนิโสมนสิการคือวิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้า
2.  สวดมนต์แผ่เมตตา  บริหารจิตและเจริญปัญญาด้วยอาณาปานสติหรือตามแนวทางศาสนาที่ตนนับถือ
3.  วิเคราะห์การปฏิบัติตนตามหลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือเพื่อการดำรงตนอย่างเหมาะสมในกระแสความเปลี่ยนแปลงของโลกและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
4.  ปฏิบัติตนอย่างตามหลักศาสนาที่ตนนับถือเหมาะสมต่อบุคคลต่าง
มนุษย์มีองค์ประกอบคือร่างกายและจิตใจ  ร่างกายที่แข็งแรงเกิดจากการรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ  ในทำนองเดียวกันจิตที่มีคุณภาพดีด้วยการฝึกสมาธิจะส่งผลต่อการพัฒนาปัญญา  มีความคิดเห็นที่ถูกต้อง ทำให้อารมณ์สงบ  ทำงานได้ไม่ผิดพลาด 6 10
 
 
 
โครงสร้างรายวิชา  สังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม  (ส  22101)     ภาคเรียนที่  1
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2        เวลา  60  ชั่วโมง    จำนวน     1.5     หน่วยกิต
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา น้ำหนักคะแนน
6 มารยาทของพุทธศาสนิกชน  และการปฏิบัติตนตามศาสนพิธีของศาสดา ส.  1.2
1.  มีมรรยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีตามที่กำหนด
2.  วิเคราะห์คุณค่าของศาสนพิธีและปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
3.  อธิบายคำสอนที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางศาสนาและ ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง
4.  อธิบายความแตกต่างของศาสนพิธี  พิธีกรรมตามแนวปฏิบัติของศาสนาอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การยอมรับและความ เข้าใจซึ่งกันและกัน
     มรรยาทชาวพุทธ  จัดเป็นเอกลักษณ์ที่ดีงามเป็นการแสดงออกของผู้ที่ได้นับถือพุทธศาสนากับมารยาทในสังคมที่ชาวพุทธควรรักษาและปฏิบัติตามแบบอย่างทั้งในด้านสนพิธี  เป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่กำหนดไว้  การเข้าร่วมในการประกอบพิธีกรรมตามวันที่มีเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์  เพื่อเป็นการชำระล้างจิตใจให้กิเลสเบาบางลง  รวมทั้งยังเป็นการสืบทอดศาสนาไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดๆ  เพื่อสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน
 
4 10
  
โครงสร้างรายวิชา  วิชาสังคมศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม (ส  22101) ภาคเรียนที่ 1
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2     เวลา  60  ชั่วโมง          จำนวน   1.5    หน่วยกิต
ลำดับที่ ชื่อหน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด สาระสำคัญ เวลา คะแนน
1 กฎหมายน่ารู้ ส.  1.2
1.  อธิบายและปฏิบัติตนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตนเองครอบครัว  ชุมชน และประเทศ
2.  อธิบายกระบวนการในการตรากฎหมาย (ส.  2.2)
กฎหมายเป็นกติกาหรือมาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันในสังคมเพื่อให้สมาชิกทุกคนปฏิบัติตามผู้ใดฝ่าฝืนย่อมมีความผิดและถูกลงโทษ  การที่บุคคลปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย 5 10
2 พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ส.  2.1
1.  วิเคราะห์บทบาท  ความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม
2.  วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทางการเมืองการปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย
สมัยปัจจุบัน  (ส.  2.2)
ระบบประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองอย่างหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองเพื่อผลประโยชน์ทุกคนซึ่งต้องมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมได้ 5 10
3 สถาบันทางสังคม ส.  2.1
1.  วิเคราะห์บทบาทความสำคัญและความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม
2.  วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารทางเมืองการปกครองที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย(ส.2.2)
 
 
การที่บุคคลในสังคมให้ความสำคัญกับสถาบันทางสังคม  เช่นสถาบันการศึกษา  สถาบันครอบครัว  สถาบันศาสนา  เศรษฐกิจและการเมืองการปกครองจะทำให้การอยู่ร่วมกันในสังคมมีความสงบสุขและสถาบันต่าง ๆ ก็จะดำรงอยู่ได้เพราะมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 5 10
4 วัฒนธรรม ส.  2.3
     อธิบายความคล้ายคลึง  และความ     แตกต่างของฒนธรรมไทยและ วัฒนธรรมของประเทศในมิภาคเอเชียเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจอันดีต่อกัน
การดำรงชีวิตในสังคมแต่ละสังคมสมาชิกต้องประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบทางสังคมซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น  จึงต้องเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจละเอียดลึกซึ้งของวัฒนธรรมแต่ละสังคมเพื่อจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และความเข้าใจอันดีระหว่างกัน 5 10
การวัดผลปลายภาคเรียน 30 100
รวมตลอดภาคเรียน 60 60

เข้าดู : 1279 ครั้ง