• ฟิสิกส์ - ครูธัญญาณี ดีพลงาม
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

คำอธิบายรายวิชา

คำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ (ฟิสิกส์) รหัสวิชา ว31101
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                                                                                                                                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เวลา 80 ชั่วโมง            
ภาคเรียนที่ 1                                                                                                                                                                             จำนวน 2.0 หน่วยกิต   
 
เข้าใจธรรมชาติของฟิสิกส์  กระบวนการวัด  ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่การเคลื่อนที่ในแนวตรง  ปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่  ตำแหน่ง  ระยะทางและการกระจัด   อัตราเร็ว  ความเร็ว  ความเร่ง  ความสัมพันธ์ระหว่างกราฟความเร็วเวลากับระยะทางสำหรับการเคลื่อนที่ในแนวตรง  สมการสำหรับคำนวณหาปริมาณต่าง ๆ ของการเคลื่อนที่ในแนวตรงด้วยความเร่งคงตัว  แรงลัพธ์  กฎการเคลื่อนที่  แรงเสียดทาน  กฎความโน้มถ่วงสากล  สนามโน้มถ่วง การประยุกต์ใช้กฎการเคลื่อนที่
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบค้นข้อมูล  การอภิปราย การวิเคราะห์  การเปรียบเทียบ  การสำรวจตรวจสอบ  การทำนาย  และการทดลอง  เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามรถในการตัดสินใจ  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรม  และค่านิยมที่พึงประสงค์

ผลการเรียนรู้
 1. สืบค้นและอธิบายการค้นหาความรู้ ทางฟิสิกส์ ประวัติความเป็นมา รวมทั้งพัฒนาการของหลักการและแนวคิดทางฟิสิกส์ที่มีผลต่อการแสวงหาความรู้ใหม่และการพัฒนาเทคโนโลยี
 2. วัดและรายงานผลการวัดปริมาณทางฟิสิกส์ได้ถูกต้องเหมาะสม โดยนำความคลาดเคลื่อนในการวัดมาพิจารณาในการนำเสนอผล  รวมทั้งแสดงผลการทดลองในรูปของกราฟ วิเคราะห์และแปลความหมาย จากกราฟเส้นตรง
 3. ทดลองและอธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างตำแหน่ง การกระจัด ความเร็ว และความเร่งของการ เคลื่อนที่ของวัตถุในแนวตรงที่มี ความเร่งคงตัวจากกราฟและ สมการ รวมทั้งทดลองหาค่า ความเร่งโน้มถ่วงของโลก และ คำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 4. ทดลองและอธิบายการหาแรงลัพธ์ ของแรงสองแรงที่ทำมุมต่อกัน
 5. เขียนแผนภาพของแรงที่กระทำต่อ วัตถุอิสระ ทดลองและอธิบายกฎ การเคลื่อนที่ของนิวตันและการใช้ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันกับ สภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ รวมทั้ง คำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
 6. อธิบายกฎความโน้มถ่วงสากลและ ผลของสนามโน้มถ่วงที่ทำให้วัตถุมี น้ำหนัก รวมทั้งคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 7. วิเคราะห์อธิบาย และคำนวณแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ ในกรณีที่วัตถุหยุดนิ่งและ วัตถุเคลื่อนที่ รวมทั้งทดลองหาสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน ระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุคู่หนึ่ง ๆ และนำความรู้เรื่องแรงเสียดทาน ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
รวม 7 ตัวชี้วัด/ผลการเรียนรู้


                                                        คำอธิบายรายวิชา

รายวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม                                                       กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4                                                         เวลา 3 ชั่วโมง 
รหัสวิชา ว31201                                                             จำนวน 1.5 หน่วยกิต   
               ศึกษาวิเคราะห์ความหมายสมดุลกล ศูนย์กลางมวลและศูนย์ถ่วง สมดุลต่อการเลื่อนที่ สมดุลต่อการหมุน โมเมนต์ของแรง โมเมนต์ของแรงคู่ควบ เสถียรภาพของวัตถุ งานและพลังงาน กำลัง พลังงานกล พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ การอนุรักษ์พลังงานกล เครื่องกล ประสิทธิภาพของเครื่องกล หลักการของงานกับเครื่องกลอย่างง่าย หลักการของสมดุลกลกับเครื่องกลอย่างง่าย โมเมนตัม การดล การอนุรักษ์โมเมนตัม การชนและการดีดตัวแยกจากกัน การเคลื่อนที่แบบโพเจกไทล์ การเคลื่อนที่แบบวงกลม
          โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  การสืบค้นข้อมูล  อภิปรายและการทดลองเพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้  มีความสามารถในการตัดสินใจ  นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม
 
ผลการเรียนรู้
1. อธิบายสมดุลกลของวัตถุโมเมนต์และผลรวมของโมเมนต์ที่มีต่อการหมุน แรงคู่ควบและผลของแรงคู่ควบที่มีต่อสมดุลของวัตถุเขียนแผนภาพวัตถุอิสระเมื่อวัตถุอยู่ในสมดุลกล และคำนวณปริมาณ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งทดลองและอธิบายสมดุลของแรงสามแรง
2. สังเกต และอธิบายสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ เมื่อแรงที่กระทำต่อวัตถุผ่านศูนย์กลางมวลของวัตถุและผลของศูนย์ถ่วงที่มีต่อเสถียรภาพของวัตถุ
3. วิเคราะห์และคำนวณงานของแรงคงตัว จากสมการและพื้นที่ใต้กราฟความสัมพันธ์ระหว่าง แรงกับตำแหน่ง รวมทั้งอธิบาย และคำนวณ กำลังเฉลี่ย
4. อธิบาย และคำนวณพลังงานจลน์พลังงานศักย์ พลังงานกล ทดลองหาความสัมพันธ์ ระหว่างงานกับพลังงานจลน์ความสัมพันธ์ ระหว่างงานกับพลังงานศักย์โน้มถ่วง ความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่ใช้ดึงสปริง กับระยะที่สปริงยืดออกและความสัมพันธ์ ระหว่างงานกับพลังงานศักย์ยืดหยุ่น รวมทั้ง อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างงานของแรงลัพธ์ และพลังงานจลน์และคำนวณงานที่เกิดขึ้น จากแรงลัพธ์
5. อธิบายกฎการอนุรักษ์พลังงานกล รวมทั้ง วิเคราะห์และคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่ของวัตถุในสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กฎการอนุรักษ์พลังงานกล
6. อธิบายการทำงาน ประสิทธิภาพและการได้ เปรียบเชิงกลของเครื่องกลอย่างง่ายบางชนิด โดยใช้ความรู้เรื่องงานและสมดุลกล รวมทั้ง คำนวณประสิทธิภาพและการได้เปรียบเชิงกล
7. อธิบายและคำนวณโมเมนตัมของวัตถุ และการดลจากสมการและพื้นที่ใต้กราฟ ความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์กับเวลา รวมทั้ง อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างแรงดลกับโมเมนตัม
8. ทดลอง อธิบาย และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการชนของวัตถุในหนึ่งมิติทั้งแบบ ยืดหยุ่น ไม่ยืดหยุ่น และการดีดตัวแยกจากกันในหนึ่งมิติซึ่งเป็นไปตามกฎการอนุรักษ์ โมเมนตัม
9. อธิบาย วิเคราะห์และคำนวณปริมาณต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ และทดลองการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์
10. ทดลอง และอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง แรงสู่ศูนย์กลาง รัศมีของการเคลื่อนที่ อัตราเร็วเชิงเส้น อัตราเร็วเชิงมุม และมวล ของวัตถุในการเคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบ ระดับ รวมทั้งคำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และประยุกต์ใช้ความรู้การเคลื่อนที่แบบวงกลม ในการอธิบายการโคจรของดาวเทียม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

เข้าดู : 1902 ครั้ง