• ช่างผลิตภัณฑ์วัสดุจากท้องถิ่น - ครูมนิดา บุญยัสสะ
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

บทที่ ๓ การออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น

บทที่ ๓
การออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น
 
หลักในการออกแบบผลิตภัณฑ์วัสดุท้องถิ่นให้มีความสวยงามนั้นมีหลักสำคัญอยู่ที่ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นที่สามารถนำมาประดิษฐ์ของใช้ต่างๆ นั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด  จึงควรรู้จักลักษณะชนิดและคุณสมบัติต่าง ๆ ของวัสดุแต่ละชนิดก่อนเพื่อจะได้นำวัสดุมาใช้ได้เหมาะสมกับงาน
 
๓.๑ ชนิดของวัสดุในท้องถิ่น
วัสดุธรรมชาติ หมายถึง วัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติ นำมาใช้งานได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเพื่อเพิ่มมูลค่าและการนำไปใช้งาน ซึ่งมีดังต่อไปนี้
            ๑.  ไม้ไผ่
            ไม้ไผ่เป็นไม้ยืนต้นจัดอยู่ในตระกูลหญ้าชนิดใบเดี่ยวลักษณะใบเรียวแหลมลำต้นมีลักษณะเป็นปล้องสลับกับข้อไม้ไผ่ชอบขึ้นในเขตอบอุ่น  อากาศร้อน  และฝนตกชุก  เช่นประเทศไทย  พม่า  อินโดนีเซีย       เป็นต้น  ไม้ไผ่เป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว  ชอบขึ้นในดินโปร่งร่วนดินทราย  หรือดินที่น้ำสามารถไหลถ่ายเทได้สะดวก  อากาศไม่หนาวจัดเกินไป  การแพร่พันธุ์ทำได้ 2 วิธี  คือ  การแพร่พันธุ์ด้วยเมล็ดและการแพร่พันธ์  ทางหน่อ  ไม้ไผ่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น หน่อไม้ไผ่นำมาทำอาหาร  ลำต้นไผ่สามารถนำมาทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้เช่น นำมาสานเป็นภาชนะใส่ของจำพวกกระบุง กระจาด ตะกร้า ชะลอม เข่ง  หรือนำมาทำเครื่องเรือน  เช่น  ชุดเก้าอี้ไม้ไผ่  เป็นต้น
๒. หวาย
          หวายเป็นไม้เลื้อยจำพวกตระกูลปาล์มมีลักษณะลำต้นกลมยาวและโตเสมอกันตั้งแต่โคนจนถึงปลาย  ไส้ตัน  กาบหุ้มคล้ายต้นหมาก ที่กาบและก้านใบมีหนาม  ผิวเกลี้ยงเหนียวเป็นมัน ใบคล้ายใบจาก               มีหนามตามริบใบ  หวายเจริญงอกงามขึ้นเองตามธรรมชาติ  มีมากในภูมิประเทศที่เป็นป่าเขา  ดงดิบ  น้ำตก  ชอบขึ้นในบริเวณพื้นที่เป็นดินร่วนชุ่มชื้น  ไม่ชอบดินทราย หรือดินที่มีกรวดหิน  หวายมีอยู่ตามป่าทั่วไป       ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย  เช่น  ประเทศไทย  ศรีลังกา  ฟิลิปปินส์  เป็นต้น  ในประเทศไทยไม่มีการปลูกหวาย  แต่หวายจะขึ้นอยู่เองตามธรรมชาติ  มีมากทางภาคใต้ในแถบจังหวัดชุมพร  ตรัง  พังงา  สุราษฏ์ธานี  นครศรีธรรมราช  และทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากตามป่าในจังหวัดอุบลราชธานี  หวายเป็นวัสดุท้องถิ่นอีกชนิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  ส่วนมากเราใช้หวายทำเป็นเครื่องจักสานประกอบเครื่องจักสานไม้ไผ่  แต่ก็มีการนำหวายมาทำเครื่องจักสานโดยตรงหลายอย่าง  เช่น  ตะกร้า  กระเป๋า  ฝาชี         ถาดผลไม้  เก้าอี้  เป็นต้น
๓. มะพร้าว
         มะพร้าวเป็นไม้ยืนต้นในตระกูลปาล์ม  ลักษณะของใบเป็นใบเลี้ยงเดี่ยวเรียงติดกันเป็นแถวอยู่สองข้างของทางมะพร้าว  มีลำต้นเป็นรูปทรงกระบอก  ส่วนโคนต้นจะใหญ่กว่าตอนปลายชอบขึ้นในดินร่วนหรือ     ดินร่วนปนทราย  อากาศอบอุ่นหรือค่อนข้างร้อน  และมีปริมาณน้ำฝนมากเพียงพอหรือริมฝั่งทะเลที่น้ำทะเลเข้าถึง  เช่น  ประเทศไทย  มาเลเซีย  อินเดีย  ละตามหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก  ในประเทศไทยนั้นมะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจอย่างหนึ่งของไทยมีการปลูกมากในภาคกลาง  และภาคใต้  โดยเฉพาะจังหวัดตามชายทะเล  เช่น  ประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร สุราษฎ์ธานี  นครศรีธรรมราช  เป็นต้น  มะพร้าวเป็นพืชที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิต  เนื่องจากเป็นพืชที่เราไม่ต้องดูแลรักษามาก  แต่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า  กล่าวคือ  นอกจากใช้บริโภคแล้ว  ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวยังสามารถนำมาประดิษฐ์ของใช้ที่มีประโยชน์ได้  เช่น  รากใช้สานตะกร้า  ลำต้นนำมาใช้ในการก่อสร้าง  ใบนำมาสานเป็นภาชนะใส่ของหรือทำของเล่น  เป็นต้น
๔.  ไม้เนื้ออ่อน
          ไม้เนื้ออ่อน  คือ  ไม้ที่มีเนื้อไม้สีอ่อนหรือสีซีด  มีน้ำหนักเบา  มีความแข็งแรงน้อย  และมีความทนทานน้อย  ไม่ค่อยทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ  หรือการกัดแทะของแมลง  เช่น  ปลวก มอด  เหมาะสำหรับนำมาใช้งานชั่วคราวหรืองานในร่ม  ไม้เนื้ออ่อน  ได้แก่  ไม้ฉำฉา  ไม้ยาง  ไม้กระบาก  ไม้สัก  เป็นต้น        บางชนิดพบได้ป่าดิบชื้นบริเวณทิวเขาในภาคเหนือ  คาบสมุทรภาคใต้  ทิวเขาทาง ด้านตะวันตก                และทิวเขาด้านตะวันออกของอ่าวไทย  เช่น  ไม้ยาง  ไม้กระบาก  บางชนิดพบในป่าเบญจพรรณที่มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง  เช่น  ไม้สัก  เป็นต้น  ไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ที่หาได้ง่าย  และมีราคาไม่แพง  ไม้เนื้ออ่อนสามารถนำมาแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ทำเป็นภาพประดับฝาผนังหรือนำมาทำเครื่องเรือน  เช่น  โต๊ะ  เก้าอี้         ชั้นวางของ  เป็นต้น
๕. ย่านลิเภา
            ย่านลิเภาเป็นพืชประเภทเถาวัลย์  มีลักษณะเป็นเถา  ลำต้นจะโตประมาณก้านไม้ขีดหรือหลอดกาแฟ  เมื่อโตเต็มที่จะยาวประมาณ  2 วา  ใบของย่านลิเภาจะเป็นใบเล็ก ๆ และหยิกงอชอบขึ้นอยู่ตามชายป่าละเมาะ และจะเลื้อยเกี่ยวพันอยู่กับต้นไม้อื่น ๆ แต่จะขึ้นเกาะอยู่เหนือต้นไม้อื่นจึงทำให้มองเห็นได้ง่ายย่านลิเภามีมากในแถบจังหวัดภาคใต้ของไทยโดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
            คุณสมบัติพิเศษของย่านลิเภา  คือ  มีลำต้นเหนียวทนทาน  จึงเหมาะที่จะนำมาสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น  เชี่ยนหมาก  พาน  กล่องยาเส้น  กล่องใส่ของ  กระเป๋าถือ  เป็นต้น  หรือนำมาใช้ผูกรัดสิ่งของก็ได้
๖. ใบลาน
            ลานเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง  มีลักษณะคล้ายต้นตาล จัดเป็นไม้ยืนต้น      ขนาดกลาง  ลำต้นตรงและแข็ง สูงประมาณ 10 เมตร มีใบออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ ยาวประมาณ ๒-๓ เมตร  ใบมีลักษณะคล้ายพัด  พบได้ทั่วไปทางภาคกลาง  และภาคใต้ทางแถบชายฝั่งด้านตะวันออก เช่น  นครศรีธรรมราช  สงขลา  พัทลุง  เป็นต้น  เรานิยมนำใบลานมาสานเป็นหมวกงอบ  หรือนำมาสานเป็นของเล่นให้เด็ก  เช่น  การสานเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ
 
 
๗. ผักตบชวา
            ผักตบชวาจัดเป็นพืชน้ำประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวลอยน้ำเจริญงอกงามโดยไม่ต้องอาศัยรากยึดเกาะ        มีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น ผักปอด สวะ ผักโรค ผักตบชวา ผักยะวา ผักอีโยก เป็นต้น        ซึ่งประเทศไทยมีผักตบชวามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ * โดยเจ้านายในสมัยนั้นได้ตามเสด็จไปประเทศอินโดนีเชีย  พ.ศ. ๒๔๔๔  ได้เห็นผักชนิดนี้ออกดอกสีม่วงสวยงามอยู่ทั่วไปจึงได้นำเอาพันธุ์ผักตบชวามายังประเทศไทยเพียงเล็กน้อย  ใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าวังสระประทุมจนกระทั่งออกดอกสวยงามและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนล้นกระถางประกอบด้วยในช่วงนั้นเกิดน้ำท่วมวังสระประทุมทำให้ผักตบชวาล่องลอยกระจัดกระจายออกไปตามที่ต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์หลัก  ผลิตภัณฑ์ที่ตลาดมีความต้องการมาก จัดเป็นผลิตภัณฑ์หลักในการผลิตของผู้ผลิต  เช่น  กระเป๋า  ตะกร้า  เป้  ในรูปแบบต่าง ๆ ผลิตภัณฑ์รอง  ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ตลาดมีความต้องการรองลงไป  คือ  กรอบรูป  หมวก รองเท้า  ของชำร่วย  และโคมไฟ  เป็นต้น
๘. เปลือกข้าวโพด
            ข้าวโพด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ซีเมส์ (Zea mays) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว ถิ่นกำเนิดก็คือ ได้มีการขุดพบซังข้าวโพดและซากของต้นข้าวโพดที่ใกล้แม่น้ำในนิวเม็กซิโก (แถบอเมริกาใต้) และปัจจุบันนิยมปลูกแพร่หลายในแถบอเมริกา แคนาดา ฯลฯ สามารถปลูกได้ในสภาพที่ภูมิอากาศแตกต่างกันมาก ๆ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์ เพราะสามารถนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ทั้งต้น ใบ และเมล็ด  นอกจากนี้ เปลือกข้าวโพด สามารถนำไปประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆได้อีกมากมาย  เช่น ตุ๊กตา  กระเป๋า  ครอบกล่องกระดาษทิชชู  พัด  ดอกไม้จันทน์  กระทง 
  ๙. เกล็ดปลา
            เกล็ดปลาทุกชนิดมีคุณสมบัติในการดูดสีและกลิ่น จึงสามารถนำมาย้อมสีและอบกลิ่นหอมได้ เกล็ดปลาที่เหมาะสำหรับทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ควรเป็นเกล็ดปลาที่มีพื้นผิวสาก ลักษณะของเกล็ดปลาที่มีผิวสาก ขอบเกล็ดบางใส มีสันเป็นแกนหนา พื้นผิวเกล็ดมีลักษณะสากมือเมื่อสัมผัส เนื่องจากมีหนามเล็ก ๆ โดยเฉพาะบริเวณแกนกลางของเกล็ด หนามที่ผิวเกล็ดช่วยให้เกล็ดดูดซึมสีและกลิ่นได้ดีติดทนนาน ส่วนสันที่เป็นแกนหนา ช่วยให้เกล็ดปลามีคุณสมบัติในการคงรูปทรงเกล็ดปลาที่อยู่ในกลุ่มนี้  และมีปริมาณมากพอที่จะนำมาทำในเชิงการค้า  ได้แก่ เกล็ดปลากระพง  ปลาครืดคราด ปลากระบอก เป็นต้น
            นอกจากนี้เกล็ดปลายังสามารถนำมาทำงานประดิษฐ์ประเภทต่าง ๆ ได้  เช่น  เครื่องประดับดอกไม้  ของชำร่วย  เป็นต้น
          ๑๐. ตะโก
            ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15 เมตร เปลือกต้นสีดำแตกเป็นสะเก็ด หน้าใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันรูปไข่กับหรือรูปป้อม ๆ กว้าง 2.5-7 ซม. ยาว 3 - 12 ซม. โคนใบสอบเป็นรูปลิ่ม ปลายใบโค้งมน ป้าน เว้าเข้าใบเกลี้ยงด้านล่าง เมื่อใยยังอ่อนอยู่มีขนบ้าง เส้นใบมี 6 - 8 คู่ เห็นได้ชัดทางด้านล่าง เส้นกลางใบสีแดงเรื่อ ๆ เมื่อใบแห้ง ดอก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่คนละต้น ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามง่ามใบ ช่อหนึ่ง ๆ มีประมาณ 3 ดอก มีขนนุ่ม กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมี 4 กลีบ  กลีบดอกยาว 8 - 12  มม.  เชื่อมติดกันเห็นรูปเหยือกน้ำหรือรูปป้อม ๆ ปลายแยกเป็นแฉกเล็ก ๆ  ส่วนดอกเพศเมียออกดอกเดี่ยวตามง่ามใบ กลีบรองดอก และกลีบดอกเหมือนดอกเพศผู้แต่ใหญ่กว่าผล  มีลักษณะกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.52.5  ซม. เมื่อผลอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ขนร่วงง่าย โคนและปลายผลมักบุ๋ม ใบตะโกสามารถนำมาทำเป็นใบบางเพื่อประดิษฐ์ดอกไม้  เป็นเครื่องประดับ  หรือเป็นโคมไฟ เป็นต้น
 
๓.๒ ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น
. วัสดุในท้องถิ่นภาคเหนือ
          กระสาหรือสา ใช้ทำกระดาษสา คุณสมบัติของกระดาษสา คือ ความเหนียวนุ่ม ทนทาน ไม่ผุกร่อน แตกหัก ปลวก มอดไม่กัดกิน และเก็บรักษาได้ง่าย
 
<a href=http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/n_02.png" src="file:///C:/Users/E2FF~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image002.png" style="height:277px; width:313px" />
 
. วัสดุในท้องถิ่นภาคกลาง
- ผักตบชวา นำมาสานเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้และของตกแต่ง
- กก นำไปประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น เสื่อ กระเป๋าถือ ที่รองแก้ว กล่องใส่เครื่องประดับ
- โสน นำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น กุหลาบ มะลิ เยอบีร่า บัว
 
<a href=http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/n_03.png" src="file:///C:/Users/E2FF~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image004.png" style="height:239px; width:262px" />
 
. วัสดุในท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ไหม นำมาทอเป็นผืน เรียกว่า ผ้าไหม ใช้ทำเครื่องนุ่งห่มและของใช้ เช่น หมอน ย่าม ประเป๋า ส่วนรังไหมที่สาวออกหมดแล้วนิยมนำมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้ชนิดต่างๆ
<a href=http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/n_04.png" src="file:///C:/Users/E2FF~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image006.png" style="height:300px; width:336px" />
 
. วัสดุในท้องถิ่นภาคใต้
- ย่านลิเภา นำมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กระเป๋าถือสตรี
- ยางพารา นำมาแปรรูปเป็นเครื่องเรือน เช่น โต๊ะ ตู้ เตียง
- เปลือกหอย สามารถจำแนกออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ดังนี้
- เปลือกหอยชนิดเป็นตัว นิยมนำเปลือกมาทำผลิตภัณฑ์ประเภทของที่ระลึก
- เปลือกหอยชนิดเป็นฝาประกบคู่ มักนำมาทำเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับ
- กระจูด นำมาสานเสื่อสำหรับรองนั่งหรือปูนอน ปัจจุบันพัฒนารูปแบบโดยการตัดเป็นแบบต่าง ๆ แล้วเย็บริมด้วยผ้าหรือหนังเทียม เช่น กระเป๋า กล่อง
. วัสดุในท้องถิ่นที่มีอยู่ทุกภาค
- ไผ่ นิยมนำมาใช้สร้างที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องดนตรี
- หวาย นิยมนำมาทำเป็นเครื่องเรือนเครื่องใช้ เช่น เก้าอี้รับแขก ชั้นวางของ ตะกร้า
- เกล็ดปลา นิยมนำมาใช้มีทำเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ เครื่องประดับ
- มะพร้าว ส่วนต่าง ๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เปลือกมะพร้าว
นำไปแยกเฉพาะเส้นใยมาทำเชือกและวัสดุบุที่นั่งและที่นอน ขุยมะพร้าว ใช้เป็นวัสดุในการขยายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ใบมะพร้าวใช้ทำเครื่องจักสาน ก้านมะพร้าวใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว กะลามะพร้าวนำมาทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และเครื่องประดับ
- ใบลาน ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่เป็นประเภทสิ่งของเครื่องใช้ ของเล่น ของตกแต่ง
- ใบตองและเชือกกล้วย นิยมนำใบตองมาประดิษฐ์เป็นภาชนะใส่อาหาร ส่วนกาบกล้วยนำมาจักเป็น
เส้น ใช้เป็นวัสดุจักสานได้ดี ข้อสำคัญคือทั้งใบตองและกาบกล้วยย่อยสลายได้ง่าย
ไม่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรมประเภทของใช้
-ไม้ แบ่งตามคุณสมบัติของเนื้อไม้ได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- ไม้เนื้ออ่อน เหมาะสำหรับทำเครื่องประดับตกแต่งบ้าน
- ไม้เนื้อแข็ง เหมาะสำหรับทำงานโครงสร้างต่าง ๆ
- ไม้เนื้อแกร่ง เหมาะสำหรับทำเครื่องเรือน 
 
<a href=http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/n_07.png" src="file:///C:/Users/E2FF~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image008.png" style="height:209px; width:250px" /><a href=http://www.trueplookpanya.com/data/product/uploads/other4/n_07-02.png" src="file:///C:/Users/E2FF~1/AppData/Local/Temp/msohtmlclip1/01/clip_image010.png" style="height:206px; width:250px" />
 
- ดิน เกิดจากการสลายตัวผุพังของหิน แร่ธาตุ และอินทรียวัตถุต่างๆ ดินที่นำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องเป็นดินที่มีความเหนียว เนื้อดินละเอียด ปั้นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย ทรงตัวและหดตัวได้ดี ทนความร้อนสูง ไม่แตกร้าว ชนิดที่เหมาะสมในการปั้น มีดังนี้
- ดินดำเหนียว นิยมใช้ทำกระเบื้อง อิฐทนไฟ หรือผสมกับดินเชื้อปั้นเป็นภาชนะใช้สอย
โดยนำไปเผาในอุณหภูมิที่ไม่สูงมากนัก
- ดินทนไฟ นิยมนำมาทำอุปกรณ์หรือเครื่องมือทนไฟ
- ดินสโตนแวร์ สามารถขึ้นรูปได้โดยไม่ต้องผสมกับดินชนิดอื่น
- ดินขาว มีคุณสมบัติดีที่สุด เนื้อดินแข็งแกร่ง เหนียว ทนความร้อนได้สูง สามารถนำมาปั้นขึ้นรูปทรงได้โดยไม่ต้องผสมกับวัสดุอื่น เมื่อเผาสุกเนื้อดินจะเป็นสีขาว นิยมนำมาทำเครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องเคลือบ
 
๓.๓ หลักการการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น
๑. ความหมายการออกแบบ
           การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ขึ้นมา  เช่น เราจะทำเก้าอี้นั่งซักตัวจะต้องวางแผนไว้เป็นขั้นตอนโดยต้องเริ่มเลือกวัสดุที่จะใช้ทำเก้าอี้นั้นจะใช้วัสดุอะไรที่เหมาะสม วิธีการต่อยึดนั้นควรใช้กาว ตะปูนอต หรือใช้ข้อต่อแบบใด คำนวณสัดส่วนการใช้งานให้เหมาะสม ความแข็งแรงของเก้าอี้นั่งมากน้อยเพียงใด สีสันควรใช้สีอะไรจึงจะสวยงาม และทนทานกับการใช้งาน เป็นต้น
การออกแบบมีการใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์ ๔ ลักษณะ
                              ๑.ความคิดริเริ่ม
 
                              ๒.ความคล่องในการคิด
          ๓.ความยืดหยุ่นในการคิด
          ๔.ความคิดละเอียดละออ
๒. การพัฒนา
          การพัฒนา ใช้ศัพท์ทางภาษาอังกฤษว่า Improvement หมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้าง แต่ถ้าใช้คำว่า Development หมายถึงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น สำหรับคำหลังดูเหมือนจะตรงกับภาษาไทยมากกว่า
๓. ผลิตภัณฑ์
          สิ่งที่มนุษย์ค้นคว้าออกแบบ ประดิษฐ์ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีพ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หมายถึง กระบวนการค้นคว้า คิดออกแบบ แก้ไขและปรับปรุงเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้น
๔. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
           การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางด้านอุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม โดยมีการวิเคราะห์หาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดแล้วนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อผลิตเป็นจำนวนมากๆให้อยู่ในความนิยมของตลาดในราคาพอสมควร
๕. ปัจจัยที่เกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์
          การออกแบบผลิตภัณฑ์มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ๔ ประการคือ
          - การออกแบบที่สัมพันธ์กับคุณภาพของผลิตภัณฑ์
          - การออกแบบที่สัมพันธ์กับวัสดุและกระบวนการผลิต
          - การออกแบบที่สัมพันธ์กับความต้องการของผู้บริโภค
                - ความต้องการที่สอดคล้องกับความเป็นอยู่
                - ความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
          - การออแบบที่มีคุณค่าทางความสวยงาม
๖. ความสำคัญของการออกแบบผลิตภัณฑ์
          ๑. ความสำคัญ ในด้านคุณค่าทาง ศิลปะ งานออกแบบที่ดีทำให้ผลิตภัณฑ์ มีความงามดึงดูดใจ สามารถตอบสนอง รสนิยมของผู้บริโภคได้
          ๒. มีประสิทธิภาพทางอุตสาหกรรม มีการเลือกวัสดุที่ดีเพื่อนำเข้าสู่ กระบวน การผลิตที่มีประสิทธิภาพลงทุนน้อย แต่มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น
          ๓. มีคุณภาพทางการบริโภค ผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบที่ดี มีการใช้วัสดุที่ดีมีกระบวนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้ผลิตภัณฑ์มีความคงทนและ มีความปลอดภัยในการใช้สอย
         ๔. มีศักยภาพในการแข่งขันทางพาณิชย์ ผลิตภัณฑ์ที่มีความงาม ความคงทนและความปลอดภัยจะเป็นที่ต้องการของตลาดทำให้มียอดขายสูง สามารถแข่งขันทางการค้ากับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันของบริษัทอื่น
 
         ๕. มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เมื่อบริษัทมีกำไรจากการขายผลิตภัณฑ์ ที่มีการออกแบบที่ดี บริษัทจะนำผลกำไรมาลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยการ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่คล้ายคลึงกับผลิตภัณฑ์เดิม
        ๖. มีศักยภาพในการรักษาลูกค้าเดิม การปรับปรุงผลิตภัณฑ์เดิมหรือการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกี่ยวพันกันขึ้นด้วยการออกแบบที่ดีจะช่วยให้บริษัทสามารถรักษาลูกค้าเดิมไว้ได้ ในขณะเดียวกันบริษัทยังสามารถดึงดูดลูกค้าใหม่ที่มีรสนิยมอย่างเดียวกันได้ด้วย
๗. มีการพยากรณ์ที่ดี เป็นที่คาดหมายกันว่าสินค้าที่มีการออกแบบไม่ดี จะไม่ค่อยได้รับการยอมรับของประชาชนในทางตรงกันข้ามสินค้าที่มีการออกแบบ ที่ดีจะได้รับการยอมรับ ทำให้การพยากรณ์เป็นไปในทางที่พึงประสงค์
        ๘. มีการรับรองคุณภาพตามระบบ ISO 9000 ผลิตภัณฑ์ของบริษัทที่ได้รับ ประกันคุณภาพ               มีการควบคุมการออกแบบกระบวนการผลิตการตรวจและการทดสอบลักษณะและคุณลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์และแสดงให้เห็นได้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความพึงพอใจ
๙. มีการคิดค้นสิ่งใหม่ เมื่อมีความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความแปลกและแตกต่างไปจากเดิมตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนถึงระดับมาก เป็นต้นว่า บริษัทผลิตรถยนต์จะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยกับรถยนต์รุ่นเดิมอยู่เสมอ เพื่อให้กลายเป็นรถยนต์รุ่นใหม่พร้อมกับราคาที่เพิ่มสูงขึ้น
๑๐. มีการพัฒนาทีมงานในการออกแบบ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง นักออกแบบด้วยกัน และทำงานร่วมกับบุคลากรฝ่ายการตลาด วิศวกร ฝ่ายผลิต คนงานรวมทั้งผู้บริหารองค์การ ซึ่งทำให้มี
๗. หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์  
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดองค์ประกอบของงานออกแบบผลิตภัณฑ์
          การออกแบบผลิตภัณฑ์มีปัจจัย (Design factors)  มากมายที่นักออกแบบที่ต้องคำนึงถึง  แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงปัจจัยพื้นฐาน ๑๐ ประการ  ที่นิยมใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสร้างสรรค์ผลงานเชิงอุตสาหกรรม  ซึ่งปัจจัยดังกล่าวเป็นปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ และเป็นตัวกำหนดองค์ประกอบของงานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ  ได้แก่
๑.หน้าที่ใช้สอย (Function)  ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดจะต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  คือสามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้บริโภคต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในหนึ่งผลิตภัณฑ์นั้นอาจมีหน้าที่ใช้สอยอย่างเดียวหรือกลายหน้าที่ก็ได้  แต่หน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่นั้น  ต้องใช้งานไประยะหนึ่งถึงจะทราบข้อบกพร่อง  ตัวอย่างเช่น
             - การออกแบบโต๊ะอาหารกับโต๊ะทำงาน  โต๊ะทำงานมีหน้าที่ใช้สอยยุ่งยากกว่า มีลิ้นชักสำหรับเก็บเอกสาร เครื่องเขียน  ส่วนโต๊ะอาหารไม่จำเป็นต้องมีลิ้นชักเก็บของ  ระยะเวลาของการใช้งานสั้นกว่า แต่ต้องสะดวกในการทำความสะอาด
             - การออกแบบเก้าอี้  หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้คือใช้นั่ง  ด้วยกิจกรรมต่างกัน  เช่น          เก้าอี้รับประทานอาหารลักษณะและขนาดต้องเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร  เก้าอี้เขียนแบบลักษณะและขนาดต้องเหมาะสมกับโต๊ะเขียนแบบ  ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า  ปวดหลัง  ปวดคอ  และนั่งทำงานได้ไม่นาน
             - การออกแบบมีดที่ในครัวนั้นมีอยู่มากกมายหลายชนิดตามการใช้งานเฉพาะเช่น มีดปอกผลไม้  มีดแล่เนื้อสัตว์  มีดสับกระดูก มีดหั่นผัก เป็นต้น  ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวตั้งแต่แล่เนื้อ สับกระดูก หั่นผัก  ก็อาจจะใช้ได้แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจจะได้รับอุบัติเหตุขณะใช้ได้  เพราะไม่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานเป็นการเฉพาะอย่าง
          ๒. ความสวยงามน่าใช้ (Aesthetics or sales appeal)
          ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมานั้นจะต้องมีรูปทรง ขนาด สีสันสวยงาม น่าใช้ ตรงตามรสนิยมของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย  เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและได้ผลดี  เพราะความสวยงามเป็นความพึงพอใจแรกที่คนเราสัมผัสได้ก่อนมักเกิดมาจากรูปร่างและสีเป็นหลัก  การกำหนดรูปร่างและสีในงานออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น  ไม่เหมือนกับการกำหนดรูปร่างและสีในงานจิตรกรรม  ซึ่งสามารถที่จะแสดงหรือกำหนดรูปร่างและสีได้ตามความนึกคิดของจิตกร แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์นั้น  จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานของรูปร่างและสีสัน  ระหว่างทฤษฎีทางศิลปะและความพึงพอใจของผู้บริโภคเข้าด้วยกัน  ถึงแม้ว่ามนุษย์แต่ละคนมีการรับรู้และพึงพอใจในเรื่องของความงามได้ไม่เท่ากัน  และไม่มีกฎเกณฑ์การตัดสินใจใดๆ ที่เป็นตัวชี้ขาดความถูกความผิด  แต่คนเราส่วนใหญ่ก็มีแนวโน้มที่จะมองเห็นความงามไปในทิศทางเดียวกันตามธรรมชาติ  ตัวอย่างเช่น  ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ ของที่ระลึก และของตกแต่งบ้านต่างๆ ความสวยงามก็คือหน้าที่ใช้สอยนั้นเอง  และความสวยงามจะสร้างความประทับใจแก่ผู้บริโภคให้เกิดการตัดสินใจซื้อได้
๓. ความสะดวกสบายในการใช้  (Ergonomics)
          การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีนั้นต้องเข้าใจกายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับขนาด สัดส่วน  ความสามารถและขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะต่างๆ ของผู้ใช้ การเกิดความรู้สึกที่ดีและสะดวกสบายในการใช้ผลิตภัณฑ์  ทั้งทางด้านจิตวิทยา(Psychology)และสรีระวิทยา(Physiology)  ซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะเพศ เผ่าพันธุ์ ภูมิลำเนา และสังคมแวดล้อมที่ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นข้อบังคับในการออกแบบ
            การวัดคุณภาพทางด้าน กายวิภาคเชิงกล(ergonomics) พิจารณาได้จากการใช้งานได้อย่างกลมกลืนต่อการสัมผัส  ตัวอย่างเช่น  การออกแบบเก้าอี้ต้องมีความนุ่มนวล  มีขนาดสัดส่วนที่นั่งแล้วสบาย  โดยอิงกับมาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตกมาออกแบบเก้าอี้สำหรับชาวเอเชีย เพราะอาจเกิดความไม่พอดีหรือไม่สะดวกในการใช้งาน  ออกแบบปุ่มบังคับ  ด้ามจับของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ  ที่ผู้ใช้ต้องใช้ร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน  จะต้องกำหนดขนาด (dimensions)  ส่วนโค้ง  ส่วนเว้า  ส่วนตรง  ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อทำให้เกิดความถนัดและความสะดวกสบายในการใช้  รวมทั้งลดอาการเมื่อยล้าเมื่อใช้ไปนาน ๆ
 
 
 
           ๔.ความปลอดภัย (Safety)
             ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีพของมนุษย์  มีทั้งประโยชน์และโทษในตัว  การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภคเป็นสำคัญ  ไม่เลือกใช้วัสดุ      สี  กรรมวิธีการผลิต  ฯลฯ  ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้หรือทำลายสิ่งแวดล้อม  ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ต้องแสดงเครื่องหมายเตือนไว้ให้ชัดเจนและมีคำอธิบายการใช้แนบมากับผลิตภัณฑ์ด้วย  ตัวอย่างเช่น  การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า  ควรมีส่วนป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้จากความเมื่อยล้าหรือพลั้งเผลอ เช่น จากการสัมผัสกับส่วนกลไกทำงาน จากความร้อน จากไฟฟ้าดูด ฯลฯ จากการสัมผัสกับส่วนกลไกทำงาน จากความร้อน จากไฟฟ้าดูด ฯลฯ หลีกเลี่ยงการใช้วัสดุที่ง่ายต่อการเกิดอัคคีภัยหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ  และควรมีสัญลักษณ์หรือคำอธิบายติดเตือนบนผลิตภัณฑ์ไว้  การออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  ต้องเลือกใช้วัสดุที่ไม่มีสารพิษเจือปน  เผื่อป้องกันเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรือออม  ชิ้นส่วนต้องไม่มีส่วนแหลมคมให้เกิดการบาดเจ็บ  มีข้อความหรือสัญลักษณ์บอกเตือน  เป็นต้น
๕. ความแข็งแรง (Construction)
            ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมานั้นจะต้องมีความแข็งแรงในตัว  ทนทานต่อการใช้งานตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ที่กำหนดโครงสร้างมีความเหมาะสมตามคุณสมบัติของวัสดุ ขนาด แรงกระทำในรูปแบบต่างๆ จากการใช้งาน ตัวอย่างเช่น การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ดีต้องมีความมั่นคงแข็งแรง  ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก  ต้องสามารถควบคุมพฤติกรรมการใช้งานให้กับผู้ใช้ด้วย เช่น การจัดท่าทางในการใช้งานให้กับผู้ใช้ด้วย เช่น การจัดท่าทางในการใช้งานให้เหมาะสม สะดวกสบาย ถูกสุขลักษณะ  และต้องรู้จักผสมความงามเข้ากับชิ้นงานได้อย่างกลมกลืน  เพราะโครงสร้างบางรูปแบบมีความแข็งแรงดีมากแต่ขาดความสวยงาม จึงเป็นหน้าที่ของนักออกแบบที่จะต้องเป็นผู้ผสานสองสิ่งเข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้  นอกจากการเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย
            ๖. ราคา (Cost)
             ก่อนการออกแบบผลิตภัณฑ์ควรมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นกลุ่มใด  อาชีพอะไร ฐานะเป็นอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้นักออกแบบสามารถกำหนดแบบผลิตภัณฑ์และประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายได้ใกล้เคียงมากขึ้น  การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมนั้น  ส่วนหนึ่งอยู่ที่การเลือกใช้ชนิด  หรือเกรดของวัสดุ  และวิธีการผลิตที่เหมาะสม  ผลิตได้ง่ายและรวดเร็ว  แต่ในกรณีที่ประมาณราคาจากแบบสูงกว่าที่กำหนดก็อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่เพื่อลดต้นทุน  แต่ทั้งนี้ต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น
            ๗. วัสดุ (Materials)
             การออกแบบควรเลือกวัสดุที่มีคุณสมบัติด้านต่างๆ ได้แก่ ความใส ผิวมันวาว ทนความร้อน ทนกรดด่างไม่ลื่น ฯลฯ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์นั้นๆ นอกจากนั้นยังต้องพิจารณาถึงความง่ายในการดูแลรักษา  ความสะดวกรวดเร็วในการผลิต สั่งซื้อและคงคลัง รวมถึงจิตสำนึกในการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ (recycle) ก็เป็นสิ่งที่นักอกแบบต้องตระหนักถึงในการออกแบบร่วมด้วย เพื่อช่วยลดกันลดปริมาณขยะของโลก
           ๘. กรรมวิธีการผลิต (Production)
             ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดควรออกแบบให้สามารถผลิตได้ง่าย รวดเร็ว ประหยัดวัสดุ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายอื่นๆ แต่ในบางกรณีอาจต้องออกแบบให้สอดคล้องกับกรรมวิธีของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีอยู่เดิม  และควรตระหนักอยู่เสมอว่าไม่มีอะไรที่จะลดต้นทุนได้รวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพ มากกว่าการประหยัดเพราะการผลิตทีละมาก ๆ
           ๙. การบำรุงรักษาและซ่อมแซม (Maintenance)
             ผลิตภัณฑ์ทุกชนิดควรออกแบบให้สามารถบำรุงรักษา และแก้ไขซ่อมแซมได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเมื่อมีการชำรุดเสียหายเกิดขึ้น  ง่ายและสะดวกต่อการทำความสะอาดเพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์      รวมทั้งควรมีค่าบำรุงรักษาและการสึกหรอต่ำ  ตัวอย่างเช่น  ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือ  เครื่องจักรกล  เครื่องยนต์  และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ  ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือจากการใช้งานที่ผิดวิธี การออกแบบที่ดีนั้นจะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้น  เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ  ให้สะดวกในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ได้โดยง่าย  นอกจากนั้นการออกแบบยังต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย  เช่น  การใช้ชิ้นส่วนร่วมกันให้มากที่สุด  โดยเฉพาะอุปกรณ์ยึดต่อการเลือกใช้ชิ้นส่วนขนาดมาตรฐานที่หาได้ง่าย การถอดเปลี่ยนได้เป็นชุดๆ การออกแบบให้บางส่วนสามารถใช้เก็บอะไหล่  หรือใช้เป็นอุปกรณ์สำรับการซ่อมบำรุงรักษาได้ในตัว  เป็นต้น
๑๐. การขนส่ง (Transportation)
          ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบควรคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง  ความสะดวกในการขนส่ง  ระยะทาง  เส้นทางการขนส่ง (ทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ ) การกินเนื้อที่ในการขนส่ง (มิติความจุ  กว้าง ´ ยาว ´ สูง  ของรถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุกทั่วไป ตู้บรรทุกสินค้า ฯลฯ) ส่วนการบรรจุหีบห่อต้องสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการชำรุดเสียหายของผลิตภัณฑ์ได้ง่าย กรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบนั้นมีขนาดใหญ่  อาจต้องออกแบบให้ชิ้นส่วนสามารถถอดประกอบได้ง่าย เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กลง ตัวอย่างเช่น  การออกแบบเครื่องเรือนชนิดถอดประกอบได้  ต้องสามารถบรรจุผลิตภัณฑ์ลงในตู้สินค้าที่เป็นขนาดมาตรฐานเพื่อประหยัดค่าขนส่งรวมทั้งผู้ซื้อสามารถทำการขนส่งและประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตัวเอง
 
              งานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ดีจะต้องผสมผสานปัจจัยต่างๆ  ทั้งรูปแบบ(form) ประโยชน์ใช้สอย(function)  กายวิภาคเชิงกล(ergonomics)และอื่นๆ  ให้เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิต แฟชั่น หรือแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับผู้บริโภคเป้าหมายได้อย่างกลมกลืนลงตัวมีความสวยงามโดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางการตลาด และความเป็นไปได้ในการผลิตจำนวนมาก    ส่วนการให้ลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์และความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น การออกแบบเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าตามแฟชั่น  อาจพิจารณาที่ประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกสบายในการใช้ และความสวยงาม เป็นหลัก  แต่สำหรับการออกแบบยานพาหนะ เช่น  จักรยาน  รถยนต์  หรือเครื่องบิน  อาจต้องคำนึงถึงปัจจัยดังกล่าวครบทุกข้อหรือมากกว่านั้น
 
 สรุป
           การออกแบบ คือ กิจกรรมการแก้ปัญหาเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่ตั้งไว้       (Design is  a  goal-directed  problem-solving) เป็นการกระทำของมนุษย์  ด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการแจ้งผลเป็นสิ่งใหม่ๆ  มีทั้งที่ออกแบบเพื่อสร้างขึ้นใหม่ให้แตกต่างจากของเดิมหรือปรับปรุงตกแต่งของเดิม  ความสำคัญของออกแบบเป็นขั้นตอนเบื้องต้นที่จะทำให้กระบวนการในการผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประสบผลสำเร็จในตลาดและตรงตามเป้าหมาย
           งานออกแบบ  คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยการเลือกนำเอาองค์ประกอบมาจัดเรียงให้เกิดรูปทรงใหม่ที่สามารถสนองความต้องการตามจุดประสงค์ของผู้สร้าง  และสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุและกรรมวิธีการผลิตที่มีอยู่ในขณะนั้น
๘. หลักการพื้นฐานในการออกแบบผลิตภัณฑ์
          การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้
          ๑. ความเป็นหน่วย (Unity) ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน
         ๒. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing) เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ ๓ ประการ
- ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing)  คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย
- ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade)        หรือด้วยสี (Colour)
                    - จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง
 
          ๓. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts) ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่
                    ๓.๑ การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน
๓.๒ จุดสำคัญรอง ( Subordinate) คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่ 1ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย
                    ๓.๓ จังหวะ ( Rhythem) โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง
                    ๓.๔ ความต่างกัน ( Contrast) เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป
๓.๕ ความกลมกลืน ( Harmomies) ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง
 

เข้าดู : 59917 ครั้ง