• ช่างผลิตภัณฑ์วัสดุจากท้องถิ่น - ครูมนิดา บุญยัสสะ
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

บทที่ ๒ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น

http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0">https://drive.google.com/file/d/1SyQ2_CA38q3pzHE0sNdVbCEDq4ipCl-c/view?usp=sharing

" />http://www.macromedia.com/go/getflashplayer" quality="high" src="https://drive.google.com/file/d/1SyQ2_CA38q3pzHE0sNdVbCEDq4ipCl-c/view?usp=sharing

" type="application/x-shockwave-flash">

บทที่  ๒

อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น
 
ในการประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ผู้ประดิษฐ์ จึงต้องศึกษา   ทำความเข้าใจ และเลือกใช้อุปกรณ์ให้ถูกวิธี เพื่อจะได้ใช้อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ ได้อย่างปลอดภัย             มีประสิทธิภาพ รวมทั้งจะช่วยให้ได้งานประดิษฐ์ที่ประณีตสวยงาม และมีคุณภาพ
 
๑. ความสำคัญและประโยชน์ของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น
งานประดิษฐ์เป็นชิ้นงานที่ผลิตโดยการใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ เพื่อนาไปใช้สอย                 ให้เกิดประโยชน์โดยมีความประณีตสวยงาม  เพื่อเป็นเครื่องใช้ของเล่น  เครื่องประดับ เครื่องตกแต่ง และเครื่องใช้ในงานพิธี นอกจากได้ชิ้นงานนี้แล้ว ยังทำให้เกิดความสบายใจ มีสมาธิ ใช้เวลาว่าง ให้เกิดประโยชน์และเพิ่มรายได้ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความสำคัญ ดังนี้
๑.๑ สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆได้อย่างปลอดภัย
๑.๒ สามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑.๓ ส่งเสริมให้สามารถสร้างงานประดิษฐ์ออกมาได้อย่างสวยงามและมีคุณภาพ
๑.๔ ประหยัดเวลา แรงงานและค่าใช้จ่ายในการประดิษฐ์ผลงาน
 
๒. หลักการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ในงานประดิษฐ์อย่างปลอดภัย
ในงานประดิษฐ์ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย ดังนั้นในการประดิษฐ์ชิ้นงานควรคำนึงถึงหลักการเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ดังนี้
                    ๑. มีจำหน่ายในท้องถิ่นเพราะหากเมื่อเกิดการชำรุดจะสามารถหาซื้ออะไหล่เปลี่ยนได้ง่าย
                    ๒. มีความทนทานสามารถใช้งานได้ยาวนาน เช่น กรรไกรด้ามโลหะ จะมีความทนทานกว่ากรรไกรด้ามพลาสติก ไม้บรรทัดที่ทำด้วยโลหะทนต่อการขูดขีด
         ๓. คำนึงถึงความสะดวกต่อการใช้งานมากกว่าคำนึงถึงเรื่องของราคาแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพจะทำให้ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน เช่น สว่านไฟฟ้ามีราคาแพงกว่าสว่านข้อเสื่อ แต่สว่านไฟฟ้าสามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็ว หรือเลือกซื้อของใช้ที่มีราคาแพงกว่านิดหน่อยแต่คุณภาพการใช้งานดีกว่าที่มีราคาถูก เป็นต้น
         ๔. มีการรับรองคุณภาพเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องได้มาตรฐานมีความปลอดภัยในการใช้งานสูงกว่าเครื่องมือที่ไม่ได้รับรองคุณภาพ
๕. ศึกษาวิธี และข้อจำกัดของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ชนิดนั้น ๆ ให้ชัดเจนก่อนการใช้งาน
๖. ขณะใช้เครื่องมือ ควรแต่งกายให้รัดกุมและไม่ใส่เครื่องประดับที่อาจจะเป็นอันตราย หรือขัดขวางการทางาน
๗. มัดผมหรือเก็บผมให้เรียบร้อยก่อนการใช้อุปกรณ์ขณะใช้เครื่องมือไฟฟ้าหรือของมีคม
๘. ควรอยู่ในภาวะอารมณ์ปกติและมีสมาธิหากมีอาการง่วงนอนหรืออ่อนเพลียให้หยุดใช้เครื่องมือทันที
 
. ประเภทของอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น ลักษณะ วิธีการใช้ และการเก็บดูแลรักษา
อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์มีมากมายหลายรูปแบบ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ที่นิยมใช้ในงานประดิษฐ์ทั่วไปสรุปได้ ดังนี้
          ๑. อุปกรณ์ที่ใช้ในการวัด ได้แก่ สายวัด ตลับเมตร ไม้บรรทัด
                    ๑.๑ สายวัด นิยมใช้ในงานประดิษฐ์ประเภทผ้า หรือใช้วัสดุอื่นๆ ตามความสะดวกของผู้ใช้
การจัดเก็บและดูแลรักษา ไม่ใช้สายวัดผูกแทนเชือกและไม้พับสานวัดเพราะจะทำให้เสียรูปทรง
๑.๒ ตลับเมตร นิยมใช้สำหรับงานประดิษฐ์ประเภทงานช่าง งานไม้ งานโลหะ              เป็นเครื่องมือที่มีความยาว ใช้สำหรับงานวัดที่มีความยาวมากๆ เช่น การวัดโต๊ะ ตู้ เป็นต้น                      การจัดเก็บดูแลรักษา ไม่ควรเก็บตลับเมตรในขณะที่ยังขึ้นหรือเปียกน้ำเพราะจะทำให้เกินสนิม
                   ๑.๓ ไม้บรรทัด ใช้ในการวัดความยาวและการขีดเส้นไม้บรรทัดมีความยาวตั้งแต่ ๑๒ นิ้ว     ขึ้นไป ทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น ไม้ สเตนเลส พลาสติก ทองเหลือง ซึ่งแต่ละชนิดมีความทนทานและมีราคาแตกต่างกัน ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสม  การจัดเก็บและดูแลรักษา ไม้บรรทัดพลาสติกควรระวังเป็นพิเศษเพราะเกิดรอยขูดขีดได้ง่าย สำหรับไม้บรรทัดโลหะ เช่น ไม้บรรทัดทองเหลือง ควรระวังการโค้งงอเพราะจะทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งาน
          ๒. อุปกรณ์ที่ใช้ในการตัด ได้แก่ กรรไกร เลื่อย มีด มีวิธีใช้ การเก็บดุแลรักษาดังนี้
๒.๑ กรรไกร เป็นอุปกรณ์ในการตัด เป็นเครื่องมือสำหรับแยกหรือทำวัสดุให้เป็นรูปแบบตามความต้องการ กรรไกรมีหลายรูปแบบ ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะของการใช้งาน                       ดังนี้ 
- กรรไกรตัดกระดาษ ทำด้วยเหล็กเนื้ออ่อนหรืออะลูมิเนียม ที่นิยมใช้กันทั่วไปมีขนาดตั้งแต่ ๕-๘ นิ้ว  มีด้ามจับเป็นพลาสติกหลายสี เช่น สีเขียว สีส้ม  การจัดเก็บดูแลรักษา ห้ามใช้ตัดลวดและโลหะ เพราะจะทำให้ตัดไกรเสียความคม
- กรรไกรตัดโลหะ ทำด้วยเหล็กใช้สำหรับตัดโลหะที่มีแผ่นบาง เช่น แผ่นอะลูมิเนียม       แผ่นสังกะสี  การจัดเก็บและดูแลรักษา ไม่ควรใช้ตัดสิ่งอื่นๆ นอกจากโลหะ และไม่ควรใช้ตัดโลหะที่หนาเกินไปเพราะจะทำให้กรรไกรไม่คม
- กรรไกรตัดผ้า เป็นกรรไกรที่มีราคาแพง ทำด้วยเหล็กคุณภาพที่ดี ใช้ตัดผ้า สะดวกในการใช้เพราะมีทั้งสำหรับคนที่ถนัดซ้าย และคนที่ถนัดขวา วิธีการใช้งานควรเลือกตามความเหมาะสม กรรไกรขนาด ๗-๘ นิ้ว จะสะดวกต่อการใช้งานและจับถนัดมือมากที่สุด  การจัดเก็บและดูแลรักษา ไม่ควรใช้ตัดวัสดุอื่น เช่น กระดาษ พลาสติก และระมัดระวังไม่ให้กรรไกรตกเพราะจะทำให้กรรไกรทื่อได้ และนำไปตัดผ้าไม่ขาด
 
                    ๒.๒ เลื่อย เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดวัสดุที่มีความหนาและแข็ง เราควรเลือกใช้เลื่อย      ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ดังนี้
          - เลื่อยฉลุ เป็นเลื่อยสำหรับทำงานชิ้นเล็กหรือใช้ฉลุลวดลาย ใบเลื่อยมีลักษณะเปราะบาง
เป็นเส้นเล็กๆ
                   - เลื่อยลันดา เป็นเลื่อยที่นิยมใช้กันมากที่สุด มีฟันเลื่อยในตัว โดยฟันเลื่อยจะอยู่ที่ตัวเลื่อยข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งเป็นสันเลื่อย ซึ่งมีทั้งชนิดเลื่อยหยาบ และฟันเลื่อยแบบละเอียดขนาดของเลื่อยมีความยาวแตกต่างกัน ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมของงาน
                              - เลื่อยมือ เป็นเลื่อยที่ทำด้วยเหล็ก สามารถถอดใบเลื่อยออกมาได้ เหมาะสำหรับเลื่อยแผ่นไม้หรือวัสดุอื่นที่มีความหนาไม่มากนัก
                    การจัดเก็บและรักษาดูแล เลื่อยชนิดที่ถอดใบเลื่อยได้ ให้ถอดใบเลื่อยออกก่อนการจัดเก็บ และหลังจากใช้งานทุกครั้ง
                    ๒.๓ มีด เป็นเครื่องมือทีใช้ในงานประดิษฐ์บางประเภท เช่น งานแกะสลัก งานดอกไม้ งานใบตอง งานไม้ไผ่ งานหวาย เป็นต้น มีดมีหลายชนิดแต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน เช่น มีดสับจะมีลักษณะสันหนาทำด้วยเหล็กคุณภาพดี ส่วนมีดหั่นจะต้องไม่ใหญ่และมีน้ำหนักมากเกินไป เพราะอาจทำให้     ไม่สะดวกในการใช้งานดังนั้น ควรเลือกให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
                    ๓. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเจาะ ได้แก่ สว่านมือ และสว่านไฟฟ้า
                              ๓.๑ สว่านมือ เป็นสว่านที่ใช้มือหมุนมี ๒ แบบ คือ สว่านฟันเฟืองและสว่านข้อเสือ       ขณะหมุนให้เอาผงวัสดุที่เกิดจากการเจาะออกด้วย เพื่อให้เกิดการฝืดขณะทำการเจาะ วิธีการหมุนสว่านให้ใช้มือข้างหนึ่งกดด้านบนและใช้มืออีกข้างหนึ่งหมุนมือจับมือหมุน การจัดเก็บและดูแลรักษา ควรถอดดอกสว่านออกก่อนการจัดเก็บเพื่อความสะดวกจากนั้นใช้น้ำมันเช็ดในส่วนที่เป็นเหล็กเพื่อป้องกันสนิม                       และเก็บให้พ้นมือเด็ก
                    ๓.๒ สว่านไฟฟ้า ก่อนการใช้งานควรตรวจดูปลั๊กเสียบให้อยู่ในสภาพดี หากชำรุดควรซ่อมแซมก่อนการใช้งาน เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และควรระวังอย่าให้ตกหรือกระแทกเพราะจะทำให้สว่านแตกเสียหายได้  การจัดเก็บและดูแลรักษา ควรถอดดอกสว่านออกก่อนการจัดเก็บ ตัวขันหัวจับของดอกสว่านควรผูกไว้กับตัวสว่านเพื่อความสะดวกและเพื่อป้องกันการสูญหาย และจัดเก็บในที่เก็บ ให้พ้นมือเด็ก
                    ๔. อุปกรณ์ที่ใช้ในการขึ้นรูปทรง ได้แก่ ค้อน ไขควง คีม มีวิธีการใช้ในการจัดเก็บและดูแลรักษา ดังนี้
                   ๔.๑ ค้อน ค้อนทีใช้ในงานประดิษฐ์โดยทั่วไปมี ๒ ประเภท คือ ค้อนเหล็ก และค้อนไม้
- ค้อนเหล็ก ใช้สำหรับเคาะ ตอก งัด หรือถอนตะปู มี ๒ แบบ คือ ค้อนหัวกลม และ       ค้อนหงอน ค้อนหัวกลมใช้สำหรับตอกทั่วไป ส่วนค้อนหงอนใช้ในงานไม้สำหรับตอกและงัดตะปู ขณะใช้ระวังการตอกถูกมือตนเอง และเวลายกค้อนหรือเหวี่ยงค้อนระวังอย่าให้โดนผู้ที่อยู่ใกล้เคียง การจัดเก็บและดูแลรักษา อย่าวางค้อนเหล็กให้ถูกแดดนานๆ เพราะจะทำให้เหล็กเสื่อมคุณภาพ ไม่ตอกค้อนเหล็กบนแท่งเหล็กเพราะจะทำให้หัวค้อนชำรุด และควรจัดเก็บในตู้สำหรับเก็บเครื่องมือหรือกล่องเก็บเครื่องมือ
- ค้อนไม้ ใช้สำหรับตอก เคาะและการเข้าเดือยไม้ การจัดเก็บและดูแลรักษา
ไม่ควรนำค้อนไม้ไปตอกเหล็กเพราะจะทำให้หัวค้อนชำรุดได้ และควรจัดเก็บในตู้สำหรับเก็บเครื่องมือ        หรือกล่องเก็บเครื่องมือ
๔.๒ ไขควง ใช้สำหรับขันตะปูเกลียว นอตเกลียวเพื่อประกอบรูปทรงของวัตถุประเภทไม้หรือวัสดุอื่นๆ ทีใช้ตะปูหรือนอตประกอบในการขึ้นรูป การใช้ควรเลือกไขควงที่มีขนาดเหมาะสมกับตะปูเกลียว ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ไขควงปากแบนและไขควงปากแฉก  การจัดเก็บและดูแลรักษา ควรใช้ไขควงให้เหมาะสมกับชนิดของนอตและตะปู เช่น ไขควงปากแบนใช้กับตะปูหัวผ่า ไม่ควรใช้ไขควงที่มีขนาดเล็กเกินไปขันตะปูที่ใหญ่กว่ามาก เพราะจะทำให้ปากไขควงบิดเบี้ยวควรจัดเก็บในตู้เก็บเครื่องมือหรือกล่องเก็บเครื่องมือ
                    ๔.๓ คีม ใช้สำหรับตัด ดัด คีบ วัสดุต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก คีมมีหลายรูปแบบหลายประเภท ควรเลือกใช้คีมให้เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ดังนี้
- คีมปากผสม เป็นคีมที่นิยมใช้กันมากโดยใช้สำหรับคีบ จับ และตัดวัสดุต่างๆ
- คีมดัด ใช้สำหรับตัดห่วงให้ถนัดมือ ใช้บีบห่วง เช่น ห่วงสร้อยคอ
- คีมตัด ใช้สำหรับตัดลวดมือหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีลักษณะกลม แต่ไม่ใหญ่เกินไป เช่น
  คีมตัดลวด เป็นต้น
                    - ปากคีบ ใช้สำหรับวัสดุที่มีขนาดเล็ก เช่น การคีบลูกปัดเพื่อการทำเกสรดอกบัวในงาน
  ประดิษฐ์ เป็นต้น
การจัดเก็บและดูแลรักษา ไม่ควรใช้คีมเคาะวัสดุแทนค้อน เพราะจะทำให้คีมชำรุดได้          และควรจัดเก็บในตู้เก็บเครื่องมือหรือกล่องเก็บอุปกรณ์
 
๒.๔ หลักการเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากวัสดุในท้องถิ่น
๑. อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ประเภทของเล่น
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ประเภทของเล่น ได้แก่ กระดาษแข็ง กระดาษลูกฟูก กระดาษโปสเตอร์ กระดาษปกนิตยาสาร ไม้ เชือก ลวด สี กาว ขวดพลาสติก ขวดแก้ว กล่องกระดาษ กล่องพลาสติก เศษผ้า และกระป๋อง เป็นต้น  วัสดุเหล่านี้สามารถนามาประดิษฐ์เป็นของเล่นต่าง ๆ ได้มากมาย ซึ่งมีทั้งชนิดเล่นได้ชั่วคราว และชนิดคงทนถาวร บางชนิดสามารถทำให้เกิดความเพลิดเพลิน และให้ความรู้ความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย
          คุณสมบัติของวัสดุงานประดิษฐ์ประเภทของเล่น ได้แก่ ความทนทานต่อน้ำ ทนต่อการฉีกขาด    ความยืดหยุ่น ความนุ่ม-แข็ง ความหยาบ-เรียบ ความมันวาว-ด้าน ซึ่งขึ้นกับชนิดของวัสดุ                     ตัวอย่างงานประดิษฐ์ประเภทของเล่น ได้แก่ งูก้านมะพร้าว งูกระดาษ งูไม้ระกา หุ่นกระดาษ หุ่นผ้า รถลาก เครื่องบิน เรือ นกกระดาษ ปลาจากใบเตย ใบลาน ตุ๊กตาผ้า ตุ๊กตาสัตว์จากผ้า หุ่นชักกระดาษแข็ง
อุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ ได้แก่ มีด กรรไกร คีม เลื่อย เข็ม ด้าย แปรงทาสี ตะปู ค้อน ซึ่งขึ้นกับชนิดของเครื่องเล่นและวัสดุที่ใช้ทา
การเลือกใช้บำรุงรักษาอุปกรณ์ต้องยึดหลัก  ดังนี้
                    ๑. ควรใช้ให้ถูกประเภทของวัสดุอุปกรณ์
๒. ควรใช้อย่างระมัดระวังและรู้จักวิธีการใช้
๓. ควรใช้แล้วเก็บไว้ที่เดิม
๔. ควรซ่อมแซมเมื่ออุปกรณ์ชำรุด
 
๒. อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ประเภทของใช้
          ได้แก่ หวาย ไม้ไผ่ ไม้ เชือก ลวด ปูนปลาสเตอร์ กระดาษแข็ง ผ้า พลาสติก สี กาว เเชลแล็ค        แลกเกอร์ เป็นต้น  วัสดุเหล่านี้สามารถนามาประดิษฐ์เป็นของใช้ได้มากมาย เช่น ตะกร้าหิ้ว ตะกร้าผลไม้ ตะกร้าใส่หนังสือ กระจาด กระด้ง เข่ง ชะลอม หลัว ไม้แขวนเสื้อ แจกัน ที่คั่นหนังสือ
          คุณสมบัติของวัสดุ ได้แก่ ความแข็งแรง ทนทาน ความสวยงาม ลวดลาย ความอ่อนนิ่ม ความมันวาว ความเหนียว
          อุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ ได้แก่ มีด เลื่อย คีม กรรไกร และอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะแต่ละงาน ได้แก่ เลื่อยตัด เหล็กหมาด ที่เลียดตอก มีดโต้ เหล็กกดลาย มีดขูดผิว มีดจักตอก คีม มีดลบเหลี่ยม กุญแจเลื่อน     มีดเหลา เป็นต้น
          การเลือกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องมีความละเอียดรอบครบมากขึ้นเพราะวัสดุ            มีความเหนียว ความแข็งและคม อาจเกิดอันตรายได้ จึงต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้อุปกรณ์อย่างดีก่อนลงมือใช้ และต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และการดูแลรักษาด้วย
๓. อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ประเภทองประดับตกแต่ง
ได้แก่ ผ้าชนิดต่าง ๆ เยื่อใยบัว ไม้ ไม้ไผ่ หวาย เปลือกหอย แก้ว กระดาษ เเชลแล็ค แลกเกอร์ และลวด เป็นต้น  วัสดุเหล่านี้สามารถนามาประดิษฐ์เป็นของประดับตกแต่งได้อย่างมากมาย เช่น โคมไฟ กรอบรูป ภาพวาด ภาพประดิษฐ์ งานแกะสลัก งานประดิษฐ์ดอกไม้ โมบาย
          คุณสมบัติของวัสดุ ได้แก่ ความทนทาน แข็งแรง ยืดหยุ่น อ่อนไหว มันวาว
อุปกรณ์ที่ใช้ ต้องเหมาะสมกับชนิดของวัสดุที่นามาประดิษฐ์ เช่น โคมไฟจากกะลามะพร้าว        จะต้องมีที่เลื่อยฉลุ ที่เจาะรู เครื่องขัดมัน มีด และแปลงทาสี เป็นต้น
          การเลือกใช้และบำรุงอุปกรณ์ ต้องให้เหมาะสมกับชนิดของงานชนิด ของแบบและวัสดุ ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและดูแลบำรุงเครื่องมืออย่างสม่ำเสมอ
๔. อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ประเภทเครื่องนุ่งห่ม
ได้แก่ ผ้าเชือก ด้าย เอ็น ลูกปัด พลอยสี ด้ายไหมปัก ไหมพรม สี เทียน สารเคมีต่าง ๆ จักร กรรไกร และสายวัด เป็นต้น  วัสดุเหล่านี้สามารถนามาประดิษฐ์เป็นเครื่องนุ่งห่มต่าง ๆได้มากมาย เช่น ปลอกหมอน หมอนอิง ผ้าปูโต๊ะ ผ้าห่ม ผ้าคลุมเตียง กระเป๋า หมวก ผ้าพันคอ ผ้าโพกหัว เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือและกำไล เป็นต้น
คุณสมบัติของวัสดุ ได้แก่ ความสวยงาม ทนทาน ความสดใส มันวาว ความนุ่มหนา ความโปร่ง      บางเบา เย็นสบาย ความเป็นประกาย
อุปกรณ์ที่ใช้งานประดิษฐ์ ประเภทนี้ ได้แก่ จักรเย็บ จักรปัก เข็มเย็บ เข็มปัก สะดึง กรรไกร       เครื่องเจาะรู คีมต่าง ๆเช่น อุปกรณ์ที่ใช้ทาปลอกหมอน ได้แก่ จักรเย็บ จักรปัก กรรไกร เตารีด ดินสอ สะดึง เข็มถัก
          การเลือกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์ ต้องใช้อุปกรณ์ด้วยความระมัดระวัง และดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ใช้แล้วเก็บให้เป็นที่เป็นทางและตรวจสอบจานวนให้ครบถ้วน เพราะอาจหลงลืม ติดไปกับชิ้นงาน   ทำให้เกิดอันตรายกับผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานได้
๕. อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ประเภทเครื่องใช้ในงานพิธี
          วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ ได้แก่ ดอกไม้ ใบไม้ ทั้งสดและแห้ง ด้าย เข็มเย็บ เข็มร้อย ริบบิ้น พาน ไม้ไผ่ ผ้า ลวด เชือก โฟม เทปกาว และหยวกกล้วย เป็นต้น วัสดุเหล่านี้สามารถนามาประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ในงานพิธี เช่น พวงมาลัยบ่าวสาว มาลัยแบน มาลัยตุ้ม มาลัยตัวสัตว์ พานพุ่ม เครื่องแขวน บายศรี กระทง ดอกไม้หน้าหีบศพ ดอกไม้หน้าเมรุ ดอกไม้งานแต่งงาน หรือขึ้นบ้านใหม่ และผ้าคลุมไตร เป็นต้น
คุณสมบัติของวัสดุ ได้แก่ ความสด ความสวยงาม อ่อนหวาน แข็งแรง ความทนทาน ความพลิ้วไหว
          อุปกรณ์ที่ใช้ในงานประดิษฐ์ ได้แก่ เข็มเย็บ เข็มร้อยมาลัย คีม ค้อน เลื่อย และมีด ยกตัวอย่างการร้อยมาลัย จะต้องใช้เข็มร้อยมาลัย เข็มเย็บ คีม กระบอกฉีดน้า เป็นต้น
การเลือกใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์ ต้องยึดหลักความปลอดภัย การบำรุงรักษา และเก็บให้ถูกต้องเหมาะสม
 
 

เข้าดู : 19363 ครั้ง