คำอธิบายรายวิชา
ส 21101 วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ภาคเรียนที่ 1 1.5 หน่วยกิต 3 คาบ / สัปดาห์
ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ปฏิบัติ เกี่ยวกับการสังคายนา การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย ความสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทยรวมทั้งการพัฒนาตนและครอบครัว พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวก สาวิกา ชาดก ศาสนิกชนตัวอย่าง หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ศาสนิกชนของศาสนาอื่นๆ หลักธรรมเรื่อง พระรัตนตรัย อริยสัจ 4 พุทธศาสนสุภาษิต สวดมนต์แปลและแผ่เมตตา ปฏิบัติตามหลักธรรม ที่ตนนับถือ และปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมต่อศาสนิกชนอื่นในสถานการณ์ต่างๆศึกษา อธิบาย ปฏิบัติ เกี่ยวกับการบำเพ็ญประโยชน์และการบำรุงรักษาวัด วิถีชีวิตของพระภิกษุ บทบาทของพระภิกษุในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อบุคคลต่างๆ ศาสนพิธี พิธีกรรม ประวัติความสำคัญ การปฏิบัติตนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เห็นคุณค่าของการพัฒนาจิตด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการหรือการพัฒนาจิตตามแนวทางของศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ตระหนักในคุณค่าของหลักธรรม และให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองสังคมในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย อภิปราย ความหมายและความสำคัญของเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น การบริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการในการบริโภคที่ดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมในการบริโภค ค่านิยมและพฤติกรรมของการบริโภคของคนในสังคมปัจจุบันรวมทั้งผลดีและผลเสียของพฤติกรรมดังกล่าว ความหมาย ประเภทและความสำคัญของสถาบันการเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ บทบาทหน้าที่และความสำคัญของธนาคารกลาง การหารายได้ รายจ่าย การออม การลงทุน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค และสถาบันการเงิน ความหมายของคำว่าทรัพยากรที่มีจำกัดความต้องการมีไม่จำกัด ความขาดแคลน การเลือกและเสียโอกาส ความหมายความเป็นมาของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต่อสังคมไทย ความหมายและความสำคัญของการมีกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา ความหมายและอุปสงค์ อุปทาน ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดอุปสงค์ อุปทาน ยกตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นการพึ่งพาอาศัยกันและกัน การแข่งขันทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ปัญหาเศรษฐกิจในชุมชนประเทศ และเสนอแนวทางแก้ไข เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในหลักเศรษฐกิจ ในฐานะผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า และนำมาใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต
ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ส 1.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3 ม.1/4 ม.1/5 ม.1/6 ม.1/7 ม.1/8 ม.1/9 ม.1/10 ม.1/11
มาตรฐาน ส 1.2 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3 ม.1/4 ม.1/5
มาตรฐาน ส 3.1 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3
มาตรฐาน ส 3.2 ม.1/1 ม.1/2 ม.1/3 ม.1/4
รวม 23 ตัวชี้วัด