แผนการเรียนรู้ที่ 13 เรื่อง การกำหนดกรอบแนวคิดและขอบเขตของปัญหาในการทำโครงงาน
จุดประสงค์การเรียนรู้
นักเรียนสามารถอธิบายความหมายการตัดสินใจเลือกปัญหาจากสถานการณ์ที่สนใจเพื่อพัฒนาโครงงานได้
นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไขแล้ว ต่อไปจะเป็นการกำหนดขอบเขตของปัญหา ซึ่งมีหลายวิธีการที่จะช่วยให้เรากำหนดขอบเขตของปัญหาได้ง่ายขึ้น เช่น เทคนิคการวิเคราะห์ด้วยผังก้างปลา (Fishbone Diagram) และวิธีการที่นักเรียนคุ้นเคยอย่าง เทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H
จากตัวอย่างสถานการณ์และปัญหา ในกิจกรรมที่ 2.2 (และในหนังสือเรียน) หากเรามาวิเคราะห์ด้วย 5W1H ได้ดังนี้
– What ทำอะไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะทำอะไร แต่ละคนทำอะไรบ้าง –> ต้องเก็บรักษามะม่วงหลังการเก็บเกี่ยวไม่ให้สุกและไม่บอบช้ำก่อนถึงมือผู้บริโภค
– Who ใคร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ใครรับผิดชอบ ใครเกี่ยวข้อง ใครได้รับผลกระทบ ในเรื่องนั้นมีใครบ้าง –> เกษตรกร ผู้ขนส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้บริโภค
– When เมื่อไหร่ คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า ระยะเวลาที่จะทำจนถึงสิ้นสุด เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำเมื่อใด –> ทางอากาศ 1 วัน ทางเรือ 7-25 วัน
– Where ที่ไหน คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สถานที่ที่เราจะทำว่าจะทำที่ไหน เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นอยู่ที่ไหน –> ตลอดเส้นทางการขนส่งทั้งในและต่างประเทศ
– Why ทำไม คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า สิ่งที่เราจะทำนั้น ทำด้วยเหตุผลใด เหตุใดจึงได้ทำสิ่งนั้น หรือเกิดเหตุการณ์นั้นๆ –> มะม่วงผลิตเอทิลีนปริมาณสูง มีการหายใจสูงขึ้น ทำให้มะม่วงสุกเร็วขึ้น ถ้าสภาพแวดล้อมไม่ถ่ายเทก็จะยิ่งมีผลทำให้สุกมากขึ้น
– How อย่างไร คือ สิ่งที่เราต้องรู้ว่า เราจะสามารถทำทุกอย่างให้บรรลุผลได้อย่างไร เหตุการณ์หรือสิ่งที่ทำนั้นทำอย่างไรบ้าง –> ต้องชะลอการสุกของมะม่วงที่เกิดจากแก๊สเอทิลีน ในช่วงเก็บรักษาและขนส่งเป็นเวลาอย่างน้อย 25 วัน
กรอบแนวคิดและขอบเขตของปัญหาจากตัวอย่างสถานการณ์ ในหนังสือเรียน คือ “ต้องการชะลอการสุกของผลมะม่วงที่เกิดจากแก๊สเอทิลีน ในช่วงเก็บรักษาและ ขนส่งเป็นเวลาอย่างน้อย 25 วัน”
/client-upload/np/uploads/files/%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2013.pdf