• วิชาแนะแนว ม.1 - ครูลำใย นามวิชา
    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เลขที่ 10 ถ. นาเชือก-พยัคฆภูมิพิสัย ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1ความสำคัญของกิจกรรมแนะแนว

           จุดประสงค์การเรียนรู้
                   1.   รู้จักเพื่อนและวิธีการสร้างสัมพันธภาพกับเพื่อน
                   2.   บอกจุดหมายหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) และโดยเฉพาะชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                   3.   อธิบายสาระการเรียนรู้ และระบุเกณฑ์การผ่านกิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                   4.   มีเจตคติที่ดี เห็นความสำคัญและให้ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว
 
คำอธิบาย: แถบหัวข้อย่อยยาว%20%5bConverted%5dแนวความคิดหลัก
                   หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนดให้กิจกรรมแนะแนวเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเอง รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหากำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียน และอาชีพ สามารถปรับตนได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จัก และเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการ     มีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน
คำอธิบาย: แถบหัวข้อย่อยยาว%20%5bConverted%5d
สาระการเรียนรู้
         จุดหมายหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
                   ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)  มีจุดหมายให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้
                   1.   คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดอย่างสร้างสรรค์
          2.   มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
        3.   รู้จักและมีทักษะในการแสวงหาความรู้และมีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน
                   4.   เห็นความสามารถของตนเองในด้านการเรียนรู้ ความสามารถเด่น ความสามารถด้อย สามารถปรับตัวด้านการเรียน  และวางแผนการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                   5.   รู้จักอาชีพและโลกของงานอย่างหลากหลาย มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพต่าง ๆ รวมทั้งรู้จักปัจจัย   ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบอาชีพ
                   6.   ตระหนักถึงความสำคัญของการเรียนที่มีผลต่อการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพในอนาคต รวมทั้งสามารถเลือกตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาต่อและอาชีพ ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด  ความสามารถ และบุคลิกภาพของตน
                   7.   เข้าใจและยอมรับตนเอง รักและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีทักษะและกระบวนการ  ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีอารมณ์มั่นคง และปรับตัวอยู่ในสังคมได้         อย่างเป็นสุข
สาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3)
          1.   ด้านการศึกษา
                หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 หลักสูตรการศึกษาภาคบังคับ) บทบาทหน้าที่ของ    งานบริการจิตวิทยาและแนะแนว คุณค่าการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ ทักษะในการเรียน และลักษณะนิสัยที่ดีในการเรียน
          2.   ด้านการศึกษาต่อและอาชีพ
                         การสำรวจอาชีพในครอบครัว ศึกษาข้อมูลด้านอาชีพ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ตรวจสอบ   ความสนใจในอาชีพ การทดสอบความถนัดทั่วไป แนวทางในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพ และ         การวางแผนการศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นไป
                   3.   ด้านการพัฒนาตน
                         การรู้จักและการเข้าใจตนเอง การยอมรับตนเองและผู้อื่น ทักษะชีวิต ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
                  
 
 
 
 
 
 
         จุดหมายหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                   ในการจัดการศึกษาตามหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจุดหมายให้ผู้เรียนเกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ดังต่อไปนี้
                   1.   คิดอย่างมีวิจารณญาณและคิดอย่างสร้างสรรค์
                   2.   มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร จุดหมาย โครงสร้าง สาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล    การเรียนรู้ เกณฑ์การผ่านช่วงชั้นและการจบการศึกษาภาคบังคับ และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปเป็นแนวทางในการวางแผนการศึกษาและปรับปรุงการเรียนให้ดีขึ้น
                   3.   มีทักษะในการศึกษาค้นคว้า และแสวงหาความรู้จากห้องสมุด รู้เท่าทันและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยี
                   4.   มีศักยภาพในการปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนรู้ของตนเอง
                   5.   มีความรู้เกี่ยวกับความหมายและลักษณะของอาชีพ ความสำคัญของการประกอบอาชีพ  และการประกอบอาชีพของสมาชิกในครอบครัว
                   6.   รู้จักองค์ประกอบของตน ยอมรับตนเอง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและมีทักษะในการตอบปฏิเสธ
                   7.   รู้จักองค์ประกอบที่มีผลต่อกระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ มีทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจที่เหมาะสมกับวัย
 
         สาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                   1.   ด้านการศึกษา
                         หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น         (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) หลักสูตรกิจกรรมแนะแนว บทบาทหน้าที่ของงานบริการจิตวิทยาและแนะแนว เรียนดี เรียนอย่างไร การประเมินผลการเรียนรายวิชา การเตรียมตัวเพื่อเรียนชั้นเรียนใหม่
                   2.   ด้านการศึกษาต่อและอาชีพ
                         การสำรวจอาชีพในครอบครัว
                   3.   ด้านการพัฒนาตน
                         การเข้าใจและการยอมรับตนเองในเรื่องการสำรวจตนเองในการพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง การยอมรับและการปฏิเสธ กระบวนการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ในเรื่องผลของอารมณ์ที่มีต่อการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการตัดสินใจ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนต่อการแก้ปัญหาส่วนตัว องค์ประกอบที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ การใช้เวลาในการแก้ปัญหาและแนวคิดในการแก้ปัญหา
         การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                   1.   กิจกรรมแนะแนว เป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนและมีผลการเรียนผ่าน
                   2.   เกณฑ์การปฏิบัติตนให้ผ่าน (ผ) กิจกรรมแนะแนวมีดังนี้
                         2.1   นักเรียนต้องเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
                         2.2   นักเรียนจะต้องส่งงานตามที่อาจารย์มอบหมายตรงตามกำหนดเวลาครบถ้วน
และมีคุณภาพ
                         2.3   นักเรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน
 
คำอธิบาย: แถบหัวข้อย่อยยาว%20%5bConverted%5dกระบวนการจัดการเรียนรู้
                   คาบที่ 1 : การสร้างความคุ้นเคย
                   เนื่องจากเป็นการเรียนกิจกรรมแนะแนวครั้งแรก และเป็นวิชาใหม่สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพื่อเป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างครูและนักเรียน ครูดำเนินกิจกรรมดังนี้
                   1.   ครูกล่าวต้อนรับ และแสดงความยินดีกับนักเรียนทุกคนในโอกาสขึ้นชั้นเรียนใหม่
                   2.   ครูแนะนำตนเองให้นักเรียนรู้จัก โดยบอกชื่อ-นามสกุล ตลอดจนประวัติโดยสังเขป
                   3.   เพื่อให้นักเรียนในห้องเรียนมีโอกาสสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และนักเรียนได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น ครูให้นักเรียนเล่นเกม “บอกหน่อยได้ไหม”  ซึ่งมีวิธีการดำเนินกิจกรรมเกม ดังนี้
                         3.1   ให้นักเรียนแต่ละคนสัมภาษณ์เพื่อน ๆ ที่อยู่ในห้องเรียน โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับ      ผู้ถูกสัมภาษณ์ในส่วนของชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น อาหารที่ชอบ กิจกรรมยามว่าง และดาราคนโปรด
                         3.2   ครูให้นักเรียนตั้งเป้าหมายและวางแผนการสัมภาษณ์โดยบันทึกลงในเอกสารประกอบ  การเรียนรู้ ข้อ 1. ก. และ ข.
                         3.3   นักเรียนมีเวลาในการเล่นเกม 15 นาที ซึ่งจะต้องสัมภาษณ์เพื่อน ๆ ให้ได้มากที่สุด  
และบันทึกลงในเอกสารประกอบการเรียนรู้ ข้อ 1. ค.
                         3.4   ครูสังเกตวิธีการที่นักเรียนใช้ในการสัมภาษณ์และบันทึกข้อมูล
                         3.5   ให้นักเรียนประเมินตนเองว่า การลงมือปฏิบัติสัมภาษณ์เพื่อนเป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้หรือไม่  อย่างไร โดยบันทึกข้อมูลลงในเอกสารประกอบการเรียนรู้ ข้อ 1. ง. และ จ.
                         3.6   ครูเลือกนักเรียนมารายงานชื่อเพื่อนที่ตนเองสัมภาษณ์และแนะนำผู้ถูกสัมภาษณ์ จากนั้นให้ผู้ถูกสัมภาษณ์แนะนำเพื่อนที่ตนเองสัมภาษณ์ โดยไม่ซ้ำคนเดิม หมุนเวียนกันต่อไป ใช้เวลาประมาณ 15 นาที
                   4.   ครูและนักเรียนอภิปรายผลที่ได้จากกิจกรรม “บอกหน่อยได้ไหม” ในส่วนของการทำ
ความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยระหว่างเพื่อนด้วยกันในห้องเรียน ซึ่งการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันนี้
มีความสำคัญต่อการเรียนและการอยู่ร่วมกันของนักเรียน
                   5.   ให้นักเรียนจับคู่พูดคุยกันในประเด็น “นักเรียนมีวิธีการในการทำความรู้จักกับเพื่อนให้   มากยิ่งขึ้นได้อย่างไร” ให้นักเรียนบันทึกผลการอภิปรายลงในเอกสารประกอบการเรียนรู้ ข้อ 1. ฉ.
                   คาบที่ 2 : หลักสูตรกิจกรรมแนะแนว
                   1.   ครูและนักเรียนอ่านจุดหมายหลักสูตรและสาระการเรียนรู้กิจกรรมแนะแนว ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3) จุดหมายหลักสูตร สาระการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
                   2.   ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม 7 กลุ่ม อภิปรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในจุดหมายหลักสูตรกิจกรรมแนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มละ 1 หัวข้อ โดยให้นักเรียนอภิปราย 2 ประเด็น คือ นักเรียนจะมีคุณลักษณะนี้ได้อย่างไร และถ้ามีคุณลักษณะนี้แล้วจะมีผลดีกับนักเรียนอย่างไร ให้นักเรียนบันทึก
ข้อมูลการอภิปรายลงในเอกสารประกอบการเรียนรู้ ในใบงาน หน่วยที่ 1 “ความสำคัญของกิจกรรมแนะแนว”
                   3.   ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการอภิปรายหน้าชั้นเรียน
                   4.   ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปแนวทางการพัฒนาและผลดีจากการมีคุณลักษณะข้างต้น และให้นักเรียนบันทึกลงในเอกสารประกอบการเรียนรู้ ข้อ 2. และข้อ 3.
 
คำอธิบาย: แถบหัวข้อย่อยยาว%20%5bConverted%5d       กระบวนการวัดและประเมินผล
                   1.   สังเกตความสนใจในการฟัง การซักถาม การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็นของผู้เรียน  และการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกันในการสัมภาษณ์
                   2.   ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน และความเรียบร้อยของเอกสารประกอบการเรียนรู้
                   3.   ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่สถานศึกษากำหนด
 
คำอธิบาย: แถบหัวข้อย่อยยาว%20%5bConverted%5d       แหล่งการเรียนรู้
                   1.   เอกสารประกอบการเรียนรู้ หน่วยที่ 1 “ความสำคัญของกิจกรรมแนะแนว”
                   2.   ใบงาน หน่วยที่ 1 “ความสำคัญของกิจกรรมแนะแนว”
คำอธิบาย: แถบหัวข้อย่อยยาว%20%5bConverted%5dเอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2551. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน        
           พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
 
 ใบงาน
หนวยที่ 1 ความสำคัญของกิจกรรมแนะแนว
คำชี้แจง                ให้กลุ่มของนักเรียนอภิปรายคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในจุดหมายหลักสูตรกิจกรรม
                                แนะแนว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
 
                คุณลักษณะอันพึงประสงค์ :                                                                                                                               
1.            นักเรียนจะมีคุณลักษณะนี้ได้อย่างไร                                                                                                                
                                                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                                                 
                                                                                                                                                                                                     
2.            ถ้ามีคุณลักษณะนี้แล้วจะมีผลดีกับนักเรียนอย่างไร                                                                                        
                                                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                                                   
                                                                                                                                                                                                   
 
                                                                                                     สมาชิกกลุ่มที่                             ชั้น                                
                                                                                                     1.                                                                                          
                                                                                                     2.                                                                                          
                                                                                                     3.                                                                                            
                                                                                                     4.                                                                                          
                                                                                                     5.                                                                                          
                                                                                                     6.                                                                                          
 
 

 
 
 
 
 
 

เข้าดู : 10089 ครั้ง