ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนบรบือได้รับ การจัดตั้งสาขาโรงเรียน เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2515 ซึ่งเป็นวันเดียวกับวันสถาปนาโรงเรียนบรบือ วันที่ 17 พฤษภาคม 2494 (โรงเรียนบรบือ) โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2515 โดยได้รับการอนุมัติให้เปิดทำการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบบสหศึกษา เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2515 ได้รับการสนับสนุนจากครูบุคคลาการทางการศึกษา โรงเรียนบรบือซึ่งในตอนแรกนั้นใช้สถานที่ของโรงเรียนบ้านกุดรังเป็นสถานที่เรียนชั่วคราว ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารประกอบอื่นๆ จึงได้ย้ายมาอยู่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน

ปีการศึกษา 2518 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ได้แยกตัวจากโรงเรียนสาขาโรงเรียนบรบือ จัดตั้งเป็นเอกเทศ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2518 ปีการศึกษา 2523 โรงเรียนได้ขออนุมัติขยายชั้นเรียนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

ปีการศึกษา 2528 กรมสามัญศึกษา อนุญาตให้โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เปิดโรงเรียนสาขาขึ้นที่ โรงเรียนบ้านโคกก่องซึ่งอยู่ในเขตท้องที่ตำบลหนองแดง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม โดยทำการเรียนสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ปีการศึกษา 2529 โรงเรียนสาขาได้ย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนบ้านปอพาน ต.ปอพาน อ.นาเชือก ซึ่งอยู่ห่างจากโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ประมาณ 12 กิโลเมตร โดยได้ใช้ใต้ถุนอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านปอพานเป็นที่เรียนชั่วคราว ขณะ นั้นมีนักเรียน 103 คน จนในปี พ.ศ. 2531 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ (สาขาตำบลปอพาน) ได้แยกออกไปตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลอันมีชื่อเป็นเอกเทศว่า โรงเรียนปอพานพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก นับเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งที่ 2 ของอำเภอนาเชือก

ปีการศึกษา 2532 ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านการเรียนการสอน อาคารสถานที่และการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกรมสามัญศึกษา ในปีนี้มีครู 66 คน นักเรียน 914 คน

ปีการศึกษา 2534 เปิดสาขาขึ้นที่โรงเรียนบ้านคึมบง ต.หนองโพธิ์ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม อยู่ห่างจากโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ประมาณ 15 กิโลเมตร มีนักเรียนจำนวน 36 คน และในปีการศึกษา 2536 ได้รับการก่อตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบล มีชื่อว่า โรงเรียนหนองโพธิ์วิทยาคม นับเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งที่ 3 ของอำเภอนาเชือก

ปีการศึกษา 2535 เปิดสาขาขึ้นที่ อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม และในปีการศึกษา 2539 ได้รับการก่อตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำอำเภอที่มีชื่อเป็นเอกเทศว่า มีชื่อว่า โรงเรียนมัธยมยางสีสุราช

ปีการศึกษา 2543 โรงเรียนย่างก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนอย่างจริงจัง และยังได้ปรับกระบวนการเรียนการสอนที่มีคุณภาพจนมีจำนวนนักเรียนเข้ามาศึกษาเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้นโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนถาวร แบบ 216ล. (หลังคาทรงไทย) จำนวน 1 หลัง (ซึ่งเป็นอาคาร 4 ในปัจจุบัน) และส้วมนักเรียนแบบมาตรฐาน 6 ที่ จำนวน 1 หลัง จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 1,749 คน ครูอาจารย์ 58 คน นักการภารโรง 7 คน ยาม 2 คน และพนักงานขับรถ 1 คน

ปีการศึกษา 2546 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระดับกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ 175เขตทั่วประเทศ จึงทำให้โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ได้ยุบรวมเข้ามาอยู่ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2 ตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา

ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนได้มุ่งพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการอย่างจริงจังและต่อ เนื่อง ส่งผลให้โรงเรียนมีผลงานดีเด่นหลายด้านจนเป็นที่ยอมรับศรัทธาของผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนโดยทั่วไป และยังได้รับการประเมินจากองค์กรภายนอกในรอบแรกจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาโดยบริษัทเอสเอวิชัน จำกัด เป็นผู้เข้าประเมินเมื่อวันที่ 1-3 มีนาคม 2547 โดยในปีการศึกษานี้ได้มีจำนวนนักเรียนเข้าศึกษาทั้งสิ้น 1,860 คน ครู-อาจารย์ 63 คน

ปีการศึกษา 2548โรงเรียนมีการพัฒนาครั้งใหญ่ในทุกด้าน อาทิ โครงสร้างการบริหาร สภาพบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม หลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนการสอน ตลอดทั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการสมาคมผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน กองทุนแนะแนว มูลนิธิศิษย์เก่าฯ รวมทั้ง ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ส่งผลให้โรงเรียนได้รับการพัฒนาเป็นโรงเรียนยอดนิยมของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามหาสารคาม เขต 2 นอกจากนี้แล้วสำนักงานคณะกรรกมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศรับรองให้โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2548 ในปีการศึกษา 2548 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,007 คน ครู 62 คน

ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนได้รับการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่นด้านอาคารสถานที่ ด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนและสื่อเทคโนโลยี เป็นต้น โดยกระบวนการบริหารโรงเรียนเป็นการบริหารแบบมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยว ข้อง ทำให้เป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียง และมีนักเรียนจากที่ต่างๆ ประสงค์ที่จะเข้าเรียนที่โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์เป็นจำนวนมาก โดยในปีการศึกษา 2549 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 2,201 คน ครู 62 คน

ปีการศึกษา 2550 ในปีการศึกษา 2550 มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,199 คน ครู 62 คน และ พนักงานราชการ 9 คน นักการภารโรง 4 คน ยาม 1 คน คนขับรถ 1 คนคน ลูกจ้างชั่วคราวที่เป็นครูอัตราจ้าง 9 คน เจ้าหน้าที่งานต่างๆ 6 คน นักการภารโรง 2 คน ยาม 1 คน และพนักงานทำความสะอาด 3 คน และยังโรงเรียนยังได้ก็รับการประเมินจากองค์กรภายนอกในรอบที่สองจาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาในเดือน มิถุนายน 2550